หมวกเปี้ยว: วิธีการผลิตหมวกใบลานเพื่อการส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น กรณีศึกษา: กลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านโคกลาน ตำบลบ้านราม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อัยลดา เหมทานนท์
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการผลิตหมวกใบลาน วิธีการผลิต และแนวทางส่งเสริมอาชีพท้องถิ่นการผลิตหมวกใบลาน กรณีศึกษา: กลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน  หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านโคกลาน ตำบลบ้านราม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการผลิตหมวกใบลาน กรณีศึกษา: กลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน หมู่ที่ 8 ตำบลชุมชนบ้านโคกลาน ตำบลบ้านราม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1.1) ขาดแคลนใบลาน 1.2) ขาดแคลนช่างฝีมือ 1.3) สมาชิกมีอาชีพหลักอื่น ๆ จึงยากต่อการบริหารจัดการกลุ่ม 1.4) สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก 1.5) ปัญหาจากการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง 1.6) รูปทรงไม่ทันสมัย 2) วิธีการผลิตหมวกใบลาน กรณีศึกษา: กลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านโคกลาน ตำบลบ้านราม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มี 2 ขั้นตอน คือ 2.1) การเตรียมวัตถุดิบ และอุปกรณ์ ประกอบด้วยใบลาน ด้ายสำหรับเย็บหมวกเปี้ยว เข็มหมุด/เข็มเย็บผ้า และหวาย เป็นต้น 2.2) ขั้นตอนการทำหมวกเปี้ยว พบว่ามีขั้นตอนการเริ่มตั้งแต่การสานโครง สานหมวก ร้อยหวาย ตกแต่ง และเก็บไว้ในที่แห้ง 3) แนวทางส่งเสริมอาชีพท้องถิ่นการผลิตหมวกใบลาน กรณีศึกษา: กลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านโคกลาน ตำบลบ้านราม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีแนวทางส่งเสริมดังนี้ คือ 3.1) มีแนวทางในการส่งเสริมด้านการพัฒนาอาชีพ 3.2) มีแนวทางส่งเสริมด้านการตลาด 3.3) มีแนวทางส่งเสริมด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ 3.4) มีแนวทางการส่งเสริมความรู้เพิ่มเติม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เจษฎา พัตรานนท์. (2553). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานท้องถิ่นโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา กลุ่มจักสานใบกะพ้อ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรธีรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ซุไรดา เจะแว. (2555). การพัฒนาการส่งเสริมกลุ่มอาชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลสาพัน อำเภอยะหรี่ง จังหวัดปัตตานี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นงค์นุช พลพวก. (2554). การส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้าบ้านกอก หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกอก อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นรเสฏฐ์ เจริญฤทธิ์ศักดิ์. (2552). การส่งเสริมอาชีพของเทศบาลตำบลต้นตาล - พระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี . ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรทิพย์ กุยุคำ. (2554). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมอาชีพ : กรณีศึกษากลุ่มผ้าบาติก องค์การบริหารส่วนตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัชระ ขาวสังข์ . (2559). ปัญหาและความต้องการเพื่อการพัฒนากลุ่มเบเกอร์รี่ ตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา. ใน เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทยก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. มหาวิทยาลัยราชธานี.

ศรินทร์ ขันติวัฒนะกุล. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในเขตจตุจักรเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(1), 69-81.

สมปฤดี เสนเดช. (2561). หัตถกรรมหมวกเปี้ยวใบลาน บ้านโคกลาน. เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2562 จาก https://www.gotoknow.org/posts/648137

อนุชาติ บูรณะพิมพ์. (2547). การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). มิติชุมชน: วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วย สิทธิ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.