สภาพปัญหา และวิธีการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมในสวนปาล์มน้ำมัน กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านทุ่งปราณ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุรศักดิ์ รอดหยู่
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
บุญยิ่ง ประทุม
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมในสวนปาล์มน้ำมัน วิธีการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมในสวนปาล์มน้ำมัน และแนวทางส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมในสวนปาล์มน้ำมัน กรณีศึกษากลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านทุ่งปราณ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมในสวนปาล์มน้ำมัน พบว่า มีปัญหาดังนี้ 1.1) เกษตรกรใช้ต้นทุนสูงเพื่อซื้อสายพันธุ์โคเนื้อ 1.2) ขาดความรู้ในการผสมพันธุ์ โคเนื้อ 1.3) มีปัญหาตามฤดูกาล เช่น หน้าแล้งขาดหญ้า ช่วงฝนตกน้ำขังนาน อาจทำให้เกิดโรคเท้าเปื่อย เป็นต้น 1.4) เกษตรกรขาดความรู้ในการป้องกันโรคระบาด 2) วิธีการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมในสวนปาล์มน้ำมัน พบว่า มีวิธีการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมดังนี้ 2.1) คัดเลือกสายพันธุ์ โคเนื้อที่มีลักษณะสมบูรณ์ตามโครงสร้าง เช่น มีขนาดที่ใหญ่ เป็นต้น 2.2) การจัดโรงเรือนต้องมีลักษณะโปร่ง ไม่มีน้ำท่วมขัง และต้องห่างไกลชุมชน 2.3) ควรให้กินหญ้าตามธรรมชาติควบคู่กับอาหารเสริม 2.4) มีหญ้าเติมในภาชนะตลอดเพื่อเลี้ยงโคขุน 2.5) ให้โคพักผ่อนเต็มที่ ใช้ยาขับถ่ายพยาธิ และยาบำรุงทุก 6 เดือน 3) แนวทางส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมในสวนปาล์มน้ำมัน พบว่า มีแนวทางดังนี้ 3.1) มีแนวทางจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ช่วยส่งเสริมความรู้การผสมเทียม และการขยายพันธุ์ลูกผสม 3.2) มีแนวทางการส่งเสริมการสร้างสุขลักษณะของโรงเรือน 3.3) มีแนวทางการส่งเสริมการให้อาหารและยารักษาโรคตามช่วงฤดูกาล 3.4) มีแนวทางส่งเสริมการจัดอบรมความรู้วิธีการเลี้ยง และป้องกันโรคระบาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัส สว่างทัพ. (2552). การพัฒนาการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรโดยวิธีการจัดการความรู้ กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในเขตอําเภอคูเมือง และอําเภอบ้านกรวดจังหวัดบุรีรัมย์. ใน รายงานการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ไชยา อุ้ยสูงเนิน. (2549). เทคนิคและประสบการณ์เลี้ยงโคเนื้อ. นนทบุรี: ฐานเกษตรกรรม.

ถาวร ถมมาลี และคณะ. (2553). สมรรถภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซากและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงโคพื้นเมืองของเกษตรกรรายย่อย จังหวัดยะลา ภายใต้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ทัศวรรณ สีลาสอน. (2555). เทคนิคการจัดการเลี้ยงดูโคขุนระยะสั้น แบบประหยัด. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2562 จาก https://www.rakbankerd.com/agriculture/page. php?id=2334&s= tblanimal

นิรันดร เอื้องตระกูลสุข. (2555). โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังจากโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2562 จาก http://niah.dld.go.th/th/index.php?option =com_content &view=article&id =304:infectdiseasesurveillance&catid=126 :diseaseforcase&Itemid=304

ภัทรพงศ์ แสนศาลา. (2556). ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 10(2), 203 – 211.

เมธา วรรณพัฒน์. (2533). โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

สมชาย ศรีพูล. (2559). ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ , 13(38), 47-57.

สว่าง อังกุโร และผดุง สุเตชะ. (2545). โรงเรือนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2562 จาก http://www.agi.nu.ac.th/science

สายขิม แสงโชติ เเละคณะ. (2549). การใช้ใบกระถินสดเป็นอาหารเสริมโปรตีนสำหรับกระบือเลี้ยงด้วยยอดอ้อยอบแห้ง . ใน รายงานผลงานวิจัยสาขาผลิตปศุสัตว์ (อาหารสัตว์) . กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุเทพ เหลาทอง และบุญชู ชมพูสอ. (2550). การศึกษาความต้องการรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการปศุสัตว์เขต 4, 11(23), 18-30.

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.