แนวทางส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากครัวเรือน กรณีศึกษา: เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ภาณุพงศ์ แซ่หลี
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเลี้ยงสุกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากครัวเรือน ศึกษาปัญหาการเลี้ยงสุกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากครัวเรือน และศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากครัวเรือน กรณีศึกษา: เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการเลี้ยงสุกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากครัวเรือน พบว่า พ่อพันธุ์สุกรที่จะนำมาใช้ในการผสมพันธุ์ และแม่พันธุ์จะต้องเป็นสุกรที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป มีน้ำหนัก 110 กิโลกรัม พร้อมที่จะให้การผสมพันธุ์ ระหว่างคลอดต้องให้ดูแลแม่สุกรอย่างใกล้ชิด เมื่อแม่สุกรคลอดเสร็จ จะต้องให้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้อักเสบ และต้องคอยสังเกตอาการของแม่สุกร ทำการฉีดวัคซีนเมื่อครบเวลากำหนดฉีด สภาพโรงเรือนจะต้องมีความสะอาด การจับจำหน่ายสุกร จะจับจำหน่ายตามอายุ และน้ำหนักตัวของสุกร การจับจำหน่ายสุกรขุนจะเริ่มทำการจับจำหน่ายเมื่อสุกรมีอายุครบ 4 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 7 เดือน 2) ปัญหาการเลี้ยงสุกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากครัวเรือน พบว่า เกษตรกรประสบปัญหาราคาอาหารที่ค่อนข้างจะสูง สภาพอากาศร้อนในช่วงเวลากลางวัน และประสบกับปัญหาด้านราคา การเลี้ยงสุกรจะมีกลิ่นของมูล และน้ำเสียจากการล้างคอก  ส่วนปัญหาด้านโรคมีน้อย เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากครัวเรือน พบว่า มีการส่งเสริมด้านสุขภาพสุกร ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านโภชนาการ ส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยง และส่งเสริมการเลี้ยงแบบธรรมชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจจา อุไรรงค์. (2559). เพิ่มผลผลิต ลดสูญเสียด้วย “การจัดการสุขภาพสุกร”. สัตว์เศรษฐกิจ, 33(777), 16-19.

กู้เกียรติ วรรณพงษ์. (2561). การบริหารจัดการฟาร์มหมู คุณภาพด้วยอาหารหมักจากยีสต์. เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2561 จาก https://www.palangkaset.com

ถิรนันท์ ศรีกัญชัย. (2558). การปรับปรุงพันธุ์สุกรของไทยและทิศทางในอนาคต. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.swinethailand.com

ธำรงศักดิ์ พลบำรุง. (2559). การเลี้ยงสุกร . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

บุญล้อม ชีวอิสระกุล. (2541). การให้อาหารสัตว์. เชียงใหม่: ธนบรรณการพิมพ์.

บุญลือ เผือกผ่อง. (2545). การผลิตและการจัดการสุกร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มงคล โสภาผล. (2555). เทคนิคการเลือกแม่พันธุ์สุกร. เรียกใช้เมื่อ 16 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=2587&s=tblanimal

วุฒิชัย สัตพันธ์. (2553). อาหารสุกรลดต้นทุนจากชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง บ.ตะกวน. เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.rakbankerd.com/agriculture/print. php?id=335&s=tblareablog

ศิขัณฑ์ พงษพิพัฒน์. (2558). เทคนิคการจัดการโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ระบบ Evaporative Cooling. สัตว์เศรษฐกิจ, 21(618), 41-44.

ศิรชัช ตะต้องใจ. (2554). แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ในพื้นที่ตำบลเวียงกาหลง . วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(3), 144-152.

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ. (2556). คนรักหมู หมูหลุมการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ. เรียกใช้เมื่อ 25 กรกฎาคม 2560 จาก https://sites.google.com/site/banrainarao/ knowledge/kl_pig

สงบ หาญกล้า. (2560). เลี้ยงหมูแบบชีวภาพ อาหารต้นทุนต่ำ ช่วยลูกหมูโตเร็ว สร้างกำไรได้ดี. เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.technologychaoban.com/ livestock-technology/article_13358

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2537). การเลี้ยงหมู. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.

สุพจน์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์. (2559). จุฬาฯ เดินหน้าทำวิจัย พัฒนาวัคซีนกันโรคสัตว์. เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2560 จาก http://www.banmuang.co.th/news/education/55415

สุวรรณี กาญจนภูสิต. (2561). กรมปศุสัตว์เตือนเกษตรกรระวังโรคระบาดสัตว์หน้าฝน. เรียกใช้เมื่อ 19 มีนาคม 2561 จาก https://allnewsexpress.com/

อนันต์ ศรีปราโมช. (2555). การเลี้ยงสุกร . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกษตรสาส์น .

อรพิน โกสินทร์. (2559). เลี้ยงหมูปลอดสารในฟาร์มรักษ์สิ่งแวดล้อม. เรียกใช้เมื่อ 25 กรกฎาคม 2560 จาก http://www.c p-enews.com/news/details/cpcsr/949

อุไรวรรณ พิพัฒน์ธนวงศ์. (2558). การดูแลแม่ และลูกสุกรเล้าคลอด. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2560 จาก http://www. nu trimed.co.th/article-view_nu002.html

อุษณีย์ รักษ์กสิกิจ. (2561). มองสถานการณ์หมูให้ลึก กำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-รายได้น้อย ถดถอยทำราคาตก. เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.matichon. co.th/columnists/news_8 19210