อัตลักษณ์ของนักศึกษามุสลิมข้ามเพศ กรณีศึกษา นักศึกษาปริญญาตรีระดับชั้นปีที่ 1 - 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อรสา สำแดงสาร
เขมณัฎฐ์ อินทรสุวรรณ
เชษฐา มุหะหมัด
อรรครา ธรรมมาธิกุล

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของนักศึกษามุสลิมข้ามเพศ กรณีศึกษา นักศึกษาปริญญาตรีระดับชั้นปีที่ 1 - 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เลขที่ 1 ตำบล ท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ซึ่งการสัมภาษณ์โดยมีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ของนักศึกษามุสลิมข้ามเพศ ประกอบด้วย 1) ด้านการแสดงออกทางด้านจิตใจและอารมณ์ คือ มักจะเป็นคนที่มีจิตใจกว้าง ชอบเอ็นดู ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคนที่ร่าเริง ส่วนทางด้านอารมณ์ คือ รู้สึกอะไรก็จะแสดงออกมาอย่างนั้น 2) ด้านการแสดงออกทาง กาย พบว่า มีการแสดงออกที่แตกต่างจากผู้อื่นอย่างชัดเจน นั่นก็คือ ภาษามือ และท่าทางการเดิน 3) ด้านการการสร้างสัมพันธภาพเพื่อทำความรู้จักกับผู้อื่น พบว่า มีการเข้าหาผู้อื่น ทักทายผู้อื่นผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ 4) ด้านวิธีการสร้างพื้นที่ทางสังคมกับกลุ่มเพื่อน ครอบครัวและสังคมพบว่า กลุ่มเพื่อนและสังคมมีการสร้างตัวตนให้กับตัวเองผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัย กลุ่มครอบครัวมีการวางตัวที่เหมาะสม 5) ด้านการปรับตัวตัวเพื่อสร้างการยอมรับทางสังคมในฐานะที่นับถือศาสนาอิสลาม พบว่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ดึงศักยภาพที่มีออกมาให้ผู้อื่นได้เห็น จากผลของการวิจัย พบว่า ปัญหาของคนข้ามเพศ คือ การที่คนบางคนหรือบางกลุ่มยังไม่เปิดกว้างพอที่จะยอมรับในเรื่องของเพศที่สาม ที่เป็นมุสลิมนับถือศาสนาอิสลามและการปรับตัวเพื่อที่จะอยู่ร่วมกันกับ  ผู้ที่ไม่ยอมรับได้ เพื่อที่จะต้องสร้างตัวตน ให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับ และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรภัทร วงศ์อ้าย. (2550). กระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์ของหญิงรักร่วมเพศ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บังอร เทพเทียน. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ระหว่าง ปี พ.ศ. 2537 - 3546) โดยวิธีวิเคราะห์อภิมาณ (Meta - Analysis). รายงานการวิจัย: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.

บุชรินทร์ นาคสิงห์. (2547). เกย์ : กระบวนการ พัฒนาเอกลักษณ์และวิถีชีวิตทางเพศ. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2560 จาก https://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2012/02/thai1.pdf

เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา. (2551). กะเทยเย้ยเวที / เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2543). การสร้างการปรับเปลี่ยนความเป็นเพศและจินตนาการทางเพศในกลุ่มวัยรุ่นชาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

เพิ่มศักดิ์ สรรลยางกูร. (2554). ครอบครัวศึกษาและความปลอดภัยในชีวิตฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วังอักษร.

รวมพล สายอรุณ. (2541). ภาพลักษณ์เกย์ในสายตานักศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุไลพร ชลวิไล. (2550). เพศไม่นิ่ง : ตัวตน เพศภาวะ เพศวิถี ในมิติสุขภาพ . นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.