โรงขวด: คุณภาพชีวิตของพนักงานกรณีศึกษา ร้านนาป่าพลาสติก หมู่ที่ 5 ตำบลไชยมนตรี อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการ ปัญหา และแนวทางการผลิตขวดน้ำดื่มเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา ร้านนาป่าพลาสติก หมู่ที่ 5 ตำบลไชยมนตรี ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการผลิตขวดน้ำดื่มจากพลาสติก อุปกรณ์ในการผลิตขวดพลาสติก ได้แก่ แม่พิมพ์เป่าพลาสติก ใช้ลมเป่าอัดเพื่อทำให้ขวดขึ้นเป็นรูปทรง นำพลาสติกใส่ในเครื่องฉีดเพื่อทำให้เม็ดพลาสติกละลายด้วยความร้อน เครื่องจัดเรียงขวดเพื่อจัดเรียงขวดให้สวยงาม เครื่องล้างขวดเพื่อความสะอาด และขั้นตอนการผลิตขวดพลาสติก ได้แก่ การฉีดขึ้นรูปให้มีรูปทรงตามที่ต้องการ การอัดขึ้นรูปเพื่อให้ขวดเป็นรูปทรง การอัดรีดใช้ความร้อนเพื่อขวดมีความแข็งแรง การเป่าขึ้นรูปขวด และการทำฉลากสินค้าเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเลือกซื้อของผู้บริโภค 2) ปัญหาวิธีการผลิตขวดน้ำดื่มจากพลาสติก พบว่า ด้านคุณภาพของบรรจุภัณฑ์พลาสติกยังไม่ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ด้านการผลิต โรงงานพลาสติก ส่วนใหญ่ไม่ตรงกับความมต้องการของผู้บริโภค และไม่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี และด้านการตลาดเรื่องสินค้าลอกเลียนแบบ และการตัดตอนราคาสินค้า 3) แนวทางส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน 3.1) การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย คือการทำให้พื้นที่ที่ปฏิบัติงานมีความสะอาด ปลอดภัยจากสิ่งต่าง ๆ และการแนะนำพนักงานให้เลี่ยงสิ่งที่จะเกิดความรุนแรงจากการทำงาน 3.2) การพัฒนาความสามารถของบุคคล การที่เสริมสร้างให้บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะมีประสิทธิภาพในการพัฒนาตนมากยิ่งขึ้น 3.3) ความก้าวหน้า และความมั่นคงในงาน การที่รู้สึกได้รับความคุ้มครองจากองค์กร และได้รับโอกาสในการพัฒนาการทำงาน และการได้รับการยอมรับจากสังคม
Article Details
References
จีรนันท์ ไวยศรีแสง. (2552). การอัดรีดขึ้นรูป. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชยันต์ เลาสุทแสน. (2548). การออกแบบการทดลองเพื่อปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาโรงงานฉีดพลาสติก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัชวาลย์ สุรัสวดี. (2539). พลาสติกเพื่อการบรรจุภัณฑ์. วารสารพลาสติก, 13(1), 27-39.
ชินรัตน์ สมสืบ. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปราโมทย์ เลิศโกวิทย์. (2547). วิธีการลดปริมาณผลิตภัณฑ์บกพร่องในกระการหล่อขึ้นรูปของมิเตอร์น้ำ GMK 15. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมระบบการผลิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2545). การส่งเสริมการประกอบอาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภัคจิรา พึ่งสุข. (2545). การลดสัดส่วนของเสียในกระบวนการฉีดพลาสติก โดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องซักผ้า. วารสารการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, 10(1), 589-602.
วรรณา นพอาภรณ์. (2550). ทำไมเราต้องทำความสะอาดภาชนะบรรจุน้ำ. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2560 จาก http://www.nakhonnayok.go.th/home/webboard /index.php?topic=26143.0
วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์. (2552). การลดความสูญเสีย จากกระบวนการฉีดพลาสติก. กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. (2543). TQM Living Handbook: An Executive Sunumary. กรุงเทพมหานคร: บีพีอาร์แอนด์ทีคิวเอ็มคอนซัล.
วีระ ธาราพิศาลสิทธิ์. (2533). แนวโน้มทางการตลาดของผลิตภัณฑ์พลาสติก. วารสารพลาสติก, 48-53.
วุฒิพงษ์ รังสีสันติวานนท์. (2550). เทคโนโลยีการฉีดขึ้นรูปพลาสติกสำหรับชิ้นงานหนา 668.4 ว867ท. ปทุมธานี: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ.
ศิริพร สัจจานันท์. (2556). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2560 จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Alternative/01-01-01.html
สุภกร บัวสาย. (2542). การออกแบบฉลากน้ำดื่ม. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2560 จาก http://www.waterhousebrand.com/น้ำดื่มDIY/label.html
สุภาสินี ลิมปานุภาพ. (2551). คอมโพสิต. ใน เอกสารการเรียนการสอนวิชา Material Science. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อริสา ชัยกิตติรัตนา และจุฬาลักษณ์ ค้าไม้. (2546). การสร้างแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของ PET ด้วยพฤติกรรมแบบไฮเปอร์อิลาสติกสำหรับการจำลองกระบวนการฉีดเป่าแบบดึงยืด. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17. สมาคมวิศวกรเครื่องกลไทย.