แนวทางการเสริมสร้างความรู้และควบคุมคอร์รัปชั่นภาคประชาชนจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

อนุชา พละกุล

บทคัดย่อ

                ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ให้ภาคประชาชนต้องมีสำนึกความเป็นพลเมืองดี มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐ แบบชุมชนเครือข่ายต่อต้านการทุจริต ตามเจตนารมณ์ของท้องถิ่น สามารถถูกตรวจสอบจากทั้งบุคคลภายนอกและจากประชาชนในท้องถิ่น จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต เช่นจัดการประกวด แข่งขัน และอื่น ๆ เพื่อประกาศยกย่องบุคคลดีเด่นตัวอย่าง จากภาคประชาชนในชุมชน การเสริมสร้างความร่วมมือภาคประชาชน ต้องมีส่วนร่วมกับชุมชนและภาครัฐ สามารถเข้าถึงข้อมูลของท้องถิ่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท้องถิ่น ดำเนินการด้วยระบบกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนที่ ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ในท้องถิ่น ซึ่งได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการทำงานร่วมกัน แนวทางการเสริมสร้างความรู้และควบคุมคอร์รัปชั่นภาคประชาชน ต้องสนใจศึกษาปัญหาของชุมชนในพื้นที่ เพื่อการมีส่วนร่วมกันกับภาครัฐ ศึกษากฎหมายและระเบียบปฏิบัติขององค์การปกครองท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐ กำหนดวิธีการประสานความร่วมมือจากตัวแทน ภาคประชาชนทุกระดับของท้องถิ่น โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อป้องกันและควบคุมการทุจริต เพื่อดำเนินงานตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ และจัดให้มีระบบกลไกการตรวจสอบภายในจากภาคประชาชน กำหนดกิจกรรมการประชุม การสัมมนา การออกตรวจเยี่ยม การรณรงค์ การส่งเสริม และการเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง  โดยปฏิบัติงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา บุญชัย. (2556). บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

ไทยรัฐ. (2560). ทุจริต. เรียกใช้เมื่อ 23 กรกฎาคม 2561 จาก https://www.thairath.co. th/tags

นภธร ศิวารัตน์ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2561). ทิศทางการคอร์รับชั่นในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 343-354.

ปิยะธิดา อภัยภักดิ์. (2561). แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 13(1), 1-12.

ภาณินี กิจพ่อค้า และคณะ. (2550). การพัฒนาบทบาทการให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นในกระบวนการยุติธรรม: มาตรการคุ้มครองภาคประชาชนที่มีส่วนร่วม. ใน รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน. เรียกใช้เมื่อ 23 กรกฎาคม 2561 จาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20210201184051.pdf