การเลี้ยงสุกรฟาร์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร กรณีศึกษา พรเทพฟาร์ม หมู่ที่ 5 ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

Main Article Content

ศรัณย์ จิตบุญ
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิธีการเลี้ยงสุกรฟาร์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางการเกษตร เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการเลี้ยงสุกรฟาร์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร และเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมในการเลี้ยงสุกรฟาร์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร                     โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า 1. วิธีการเลี้ยงสุกรฟาร์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร กรณีศึกษา พรเทพฟาร์มพบว่า 1) การจัดตั้งโรงเรือนสุกรแบบเปิด เพื่อให้อากาศนั้นถ่ายเทได้สะดวก 2) การเลือกสายพันธุ์สุกรนั้นมักนิยมเลี้ยงสายพันธุ์แลนด์เรซ เพราะมีความอดทนต่อสภาพภูมิอากาศได้ดี 3) การเลี้ยงสุกรอนุบาลด้วยการฉีดวัคซีนให้แก่ลูกสุกรแรกเกิด  เพื่อให้สุกรมีภูมิต้านทานจากโรค 4) การเลี้ยงสุกรขุนด้วยการให้สุกรกินอาหารในปริมาณที่มาก 5) การให้อาหารสุกรอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  6) การรักษาสุกรป่วยด้วยการคัดแยกสุกรป่วยออกจากฝูง 7) การจับ และจำหน่ายสุกรนั้นน้ำหนักต้องไม่ต่ำกว่า 80 กิโลกรัม 2. สภาพปัญหาในการเลี้ยงสุกรฟาร์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร กรณีศึกษา พรเทพฟาร์ม พบว่า 1) ปัญหาโรคระบาดในสุกร ทำให้ราคาเนื้อสุกรตกต่ำลง 2) ปัญหาของเสียจากฟาร์มสุกรทำให้เกิดกลิ่นเหม็นไปทั่วชุมชนใกล้เคียง 3) ปัญหาด้านการตลาดในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง 3. เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมในการเลี้ยงสุกรฟาร์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร กรณีศึกษา พรเทพฟาร์ม พบว่า 1) แนวทางการรักษาโรคสุกร ด้วยการแยกสุกรป่วยออกจากฝูง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปสู่สุกรตัวอื่น 2) แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากของเสียภายในฟาร์มสุกรนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ย 3) แนวทางสร้างมาตรการใช้สารอันตรายในสุกร ด้วยการห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง 4) แนวทางการส่งเสริมด้านการตลาด และตัวแทนจำหน่าย ด้วยการเพิ่มช่องทางการตลาดสุกรทั้งตลาดเนื้อสุกรสด และเนื้อสุกรแปรรูป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). การจัดการมูลสุกร และน้ำเสียจากฟาร์มสุกร. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/water_swine.html

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). การเลี้ยงสุกร. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จิราพร เรืองทวีศิลป์. (2557). ธุรกิจสุกร. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน).

นวลจันทร์ พารักษา. (2551). การศึกษาโครงการการระบบตลาดข้อตกลงสินค้าปศุสัตว์ (สุกร)ในประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์. (2560). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่อการนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกา. นนทบุรี: วิชาการเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ภัทรพล สำเร็จดี. (2547). สารเร่งเนื้อแดง. พิจิตร: กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานสัตว์ จังหวัดพิจิตร.

ภาวิณี วงศ์สนสุนีย์. (2532). โรคสุกร. นครปฐม: ศูนย์วิจัย และฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

วสันต์ พันธ์นาค และคณะ. (2550). อัตราการบริโภคสุกรในเขตเทศบาลมหาสารคาม. มหาสารคราม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาทิตต์ ทรวดทรง. (2557). ความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจฟาร์มสุกรแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สชุน ตั้งทวีวิพัฒน์. (2555). การส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และสุกรแม่พันธุ์เพื่อการฟื้นฟูให้เป็นอาชีพหลังภาวะน้ำท่วม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุกัญญา จัตตุพรงษ์. (2559). สร้างมูลค่าเพิ่มให้มูลสุกร. วารสารเกษตรอภิรมย์, 2(11), 23-35.

สุกิจ ติดชัย. (2554). คู่มือการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2562 จาก www.e-manage. mja.ac.th/openFile.aspx?id=Mjc4OTM=

สุทัศน์ ศิริ. (2525). การเจริญเติบโตของสัตว์. เชียงใหม่: สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้.

สุวรรณา พรหมทอง. (2550). การจัดการฟาร์มสุกร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.