แนวทางการอนุรักษ์องค์ความรู้ในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มจักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านท่าช้าง ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

มริสา พุทโกสิทธิ์
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการอนุรักษ์องค์ความรู้ในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ในชุมชน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการอนุรักษ์องค์ความรู้ในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ในชุมชน เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการอนุรักษ์องค์ความรู้ในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มจักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านท่าช้าง ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช  ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า 1. วิธีการอนุรักษ์องค์ความรู้ในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ในชุมชน พบว่ามีวิธีการ ดังนี้ 1) การอนุรักษ์การใช้จักสานไม้ไผ่แบบยั่งยืน พบว่า นำไม้ไผ่ที่มีอยู่มาใช้ในการจักสานไม้ไผ่อย่างประหยัด และพอดี 2) การอนุรักษ์การเก็บกักจักสานไม้ไผ่ พบว่า เก็บกักเครื่องจักสานที่มีแนวโน้มจะขาดแคลนเอาไว้ใช้ในอนาคต 3) การรักษาซ่อมแซมจักสานไม้ไผ่ พบว่า จัดทำเครื่องจักสานให้มีความแข็งแรงทนทาน 4) การอนุรักษ์ฟื้นฟูจักสานไม้ไผ่ พบว่า ดูแลรักษาเครื่องจักสานไม้ไผ่ให้สามารถใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น2. สภาพปัญหาการอนุรักษ์องค์ความรู้ในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ในชุมชน พบว่ามีสภาพปัญหา ดังนี้ 1) ปัญหาด้านการผลิต พบว่า ปัญหาวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกในกลุ่ม 2) ปัญหาด้านเงินทุน พบว่า ไม่มีเงินทุนในการจัดซื้อ จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์ 3) ปัญหาด้านสมาชิก พบว่า สมาชิกบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือกับทางกลุ่มไม่มาทำงานในกลุ่ม 3. แนวทางส่งเสริมการอนุรักษ์องค์ความรู้ในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ในชุมชน พบว่า มีแนวทาง ดังนี้ 1) แนวทางการส่งเสริมด้านการตลาด พบว่า มีการโฆษณาสินค้าผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต 2) แนวทางการส่งเสริมความรู้ พบว่า เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม  3) แนวทางการส่งเสริมด้านการจัดตั้งกลุ่ม พบว่า ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีงานทำลดการว่างงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ หอมคง. (2554). ประโยชน์จากไม้ไผ่. เรียกใช้เมื่อ 16 กรกฎาคม 2562 จาก http://notentoe44.blogs pot.com//2011/12/blog-post_05.html

เกษม จันทร์แก้ว. (2540). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โครงการสหวิทยาการ บัณฑิตศึกษา.

เจียมจิตร บัวบรรณ์. (2538). ประโยชน์การจัดตั้งกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ดวงดาว กลิ่นสี. (2551). ผลิตภัณฑ์ชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติ จำกัด.

นเร ขอจิตต์เมตต์. (2559). รวมทฤษฎีหัตถกรรม. กรุงเทพมหานคร: บุญเลิศการพิมพ์.

ประเวศ วะสี. (2542). ภูมิปัญญาชาวบ้านการพัฒนาชนบท เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นดิ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

เรืองศักดิ์ บุญวทัญญู. (2535). การสร้างกลุ่ม และการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมสหกรณ์.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2539). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัทต้นอ้อ แกรมมี่.

สุมาริน วงศ์มณี. (2539). การจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

สุวิมล อิษฎากร. (2553). การอนุรักษ์. เรียกใช้เมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 จาก http://.graduate.pkruac.th/academic/v aran/9-2-2556.pdf

เสรี พงศ์พิศ. (2539). การส่งเสริมวิสาหกิจ. เรียกใช้เมื่อ 24 กรกฎาคม 2562 จาก http://libry.thaihealth.or.th./ULIB/dublin.php?ID=

เสรี วงษ์มณฑา. (2558). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

อุดม ศรีสวัสวัสดิ์. (2554). การผลิตสินค้า. เรียกใช้เมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 จาก tt:biogang.net//blog/blogdetail.php?uid=46750&id=2564