มันเหลือง: สภาพปัญหาการผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร ตราพร้อมพรหม ชุมชนบ้านเกาะสำโรง หมู่ที่ 9 ตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วัชระ อินพรหม
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิธีผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร ตราพร้อมพรหม สภาพปัญหาการผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร ตราพร้อมพรหม และแนวทางการส่งเสริมอาชีพการผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร ตราพร้อมพรหม ชุมชนบ้านเกาะสำโรง หมู่ที่ 9 ตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร ตราพร้อมพรหม พบว่า ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1) การเตรียมวัตถุดิบ เลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ 2) การเตรียมอุปกรณ์ เช่น กระทะ หม้อ กระบวย ผ้าขาวบาง ภาชนะบรรจุ 3) วิธีผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร เริ่มด้วยนำสมุนไพรล้างทำความสะอาด นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วจึงนำมาทอดด้วยน้ำมันมะพร้าว เมื่อทอดแล้วนำกรองด้วยผ้าขาวบาง นำมาใส่โหลเพื่อผสมกับวัตถุดิบที่เป็นสูตรเฉพาะของน้ำมันเหลือง  ตราพร้อมพรหม 2) สภาพปัญหาการผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร ตราพร้อมพรหม 1) สภาพปัญหาวัตถุดิบสมุนไพร หายากและราคาแพง 2) สภาพปัญหาด้านผู้สืบทอด 3) สภาพปัญหาด้านการขาย และ 4) สภาพปัญหาด้านการส่งเสริมความรู้การผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร  3) แนวทางการส่งเสริมอาชีพการผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร ตราพร้อมพรหม พบว่า มีแนวทางส่งเสริม ดังนี้ 1) การส่งเสริมด้านวัตถุดิบสมุนไพร คือ การส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกพืชสมุนไพรที่เกี่ยวข้อง 2) การส่งเสริมด้านผู้สืบทอด พบว่า ต้องส่งเสริมให้เด็ก และผู้สนใจเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับยาสมุนไพร 3) ส่งเสริมด้านการขาย พบว่า ประชาสัมพันธ์ตามงานโอทอป และสื่อออนไลน์ เช่น Facebook line เพื่อให้เป็นที่รู้จัก และ 4) การส่งเสริมความรู้ด้านการทำน้ำมันเหลืองสมุนไพร พบว่า พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย และต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย เช่น ขี้ผึ้งสมุนไพร สบู่สมุนไพร เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กศิพัฎญ์ ทองแกม และโฆสิต แพงสร้อย. (2562). ปัญหาและแนวทางส่งเสริมการขายสินค้าโอทอปบนตลาดออนไลน์ เชิงพุทธในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4627-4644.

กิตติชัย รัตนพันธ์. (2556). แนวทางการส่งเสริมด้านผู้สืบทอด. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2561 จาก http://www.thaismescenter.com

เตือนใจ เหล่าสุวรรณ. (2551). เทคนิคการแปรรูปสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิชนันท์ พลูพิพัตน์. (2556). คู่มือการทำน้ำมันเหลืองสมุนไพร. ขอนแก่น: ศูนย์การแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประเทืองทิพย์ สุกูมลจันทร์. (2545). การเตรียมวัตถุดิบสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประพันธ์ ภักดีกุล. (2549). การพัฒนาเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ.

พรศักดิ์ รักษาจันทร์. (2545). การทำน้ำมันเหลืองสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: อักษรศิลป์การพิมพ์ พิมพ์เพ็ญ.

เพ็ญจันทร์ กรุณามัยวงศ์. (2545). การแปรรูปสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณะสุข.

ภัสรา ตระกูลวงศ์. (2558). โอกาส อุปสรรค และข้อจํากัดของการเพาะปลูก. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2561 จาก https://banraipaina.wordpress.com/

ภาคภูมิ ธรรมะจาโร. (2547). สมุนไพรไทย. พัทลุง: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.

รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์. (2545). การแปรรูปสมุนไพร. เพชรบุรี: ศูนย์ตำราแพทย์แผนไทย.

รัตนชัย ม่วงงาม. (2549). ภูมิปัญญาชาวบ้านในผู้สืบทอด. เรียกใช้เมื่อ 19 กันยายน 2561 จาก https://sites.google.com/site/darunee

วิชิต กิ่งนอก. (2556). ปัญหาของการขายสินค้าออนไลน์ และอุปสรรค. เรียกใช้เมื่อ 17 กันยายน 2561 จาก https://taokaemai.com/10-cause-sale-fall/

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2545). วิวัฒนาการโฆษณา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. เข้าถึงได้จาก นนทบุรี

สมศักดิ กรีชัย. (2557). การจัดทำฐานข้อมูลส่งเสริมการปลูกสมุนไพร. เรียกใช้เมื่อ 19 กันยายน 2561 จาก https://rdo.psu.ac.th/th/images/D2/budget/

สรินาฎ เวชรัตน์. (2559). การผสมวัตถุดิบสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพพิทักษ์.

อุไร จักรพล. (2557). ปัญหาการส่งเสริมความรู้ด้านการผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร. เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2561 จาก https://localfund.happynetwork.org/project/23099/finalreport