ออมทรัพย์บ้านเถลิง: แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตชุมชนบ้านเถลิง ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

มัณฑนา เถาอั้น
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

          บทคาวมวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ชุมชนบ้านเถลิง ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ชุมชนบ้านเถลิง ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ชุมชนบ้านเถลิง ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร กลุ่มคณะกรรมการและสมาชิก คือ ผู้ดำเนินการแนวทางการส่งเสริมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตชุมชนบ้านเถลิง จำนวน 11คน กลุ่มผู้สนับสนุน คือ ผู้ที่เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตชุมชนบ้านเถลิง จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต พบว่า 1) มีเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน 2) มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกเดือน 3) มีหลักคุณธรรม 5 ประการที่สมาชิกปฏิบัติต่อกัน เช่น ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นต้น 4) สมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 5) มีการแสดงบัญชีราย-รายจ่าย 2) สภาพปัญหาการบริหารการจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต พบว่า 1) ยังขาดประสบการณ์ในการบริหารเงินทุน 2) ขาดการอบรมความรู้อย่างสม่ำเสมอ 3) ทางกลุ่มยังมีปัญหาหนี้เสีย 3) แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต พบว่า 1) มีแนวทางการส่งเสริมการวางแผนระบบวินัยทางการเงินของสมาชิก 2) มีแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ จากพื้นที่รูปธรรมอื่น ๆ 3) มีแนวทางการส่งเสริมระบบสวัสดิการ 4) มีแนวทางในการส่งเสริมให้สมาชิกสามารถพึ่งพาตนเองได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา ชุวานนท์. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารคณะวิชาภาษาต่างประเทศสำหรับ มหาวิทยาลัยจัดตั้งใหม่ของรัฐ ในประเทศไทย. จันทรเกษมสาร, 16(31): 116-126.

จีรพรรณ กาญจนจิตรา. (2538). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฉัตรชัย ศรีวิชา และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต: กรณีศึกษาตำบล นาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2562 จาก https://conference.kku.ac.th/colaimg/files/articles/0e3a7-0-64-.pdf.

ดวงนภา เพชรแท้. (2559). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านทับซุงตำบลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ และกิจการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะพงษ์ สนิทไชย และประจักร บัวผัน. (2556). การบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนองค์การบริหาร ส่วนตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6 (3), 571-585.

พรีดา จริยะกุลญาดา, และคณะ. (2556). แนวทางส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

รัตนาวดี นาคมูล. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการปฏิบัติหน้าที่กับพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลจังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. (2560). กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2562 จาก http://district.cdd.go.th/hot/services/

อำมาลา ศักดี, และคณะ. (2558). แนวทางการพัฒนากลุ่มออม ทรัพย์เพื่อการผลิต จังหวัดอุตรดิต. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

อิสรนันท์ ทรงเนติเชาวลิต และฐิติมา เวชพงศ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1313-1338.