แนวทางการบริหารและการจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนบ้านโป่งแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

Main Article Content

ภัสสร อินต๊ะ
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว
ประเวศ เวชชะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการบริหารและการจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนบ้านโป่งแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 1 คน ครู จํานวน 14 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน (ศึกษานิเทศก์ สพป.ชร. เขต2) จํานวน 1 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แนวประเด็นคำถามการระดมสมอง (Brain Storming) และแนวประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ตามกระบวนการ POLC


  ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารและการจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนบ้านโป่งแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ด้านการวางแผน (Planning) โรงเรียนบ้านโป่งแดง ควรมีการวางแผนกําหนดนโยบายในการบริหารงานวิชาการในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูทำการวิจัยในชั้นเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนละ 1 เรื่อง รวมปีการศึกษาละ 2 เรื่อง และมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินการส่งเสริมความรู้ในเรื่องการทําวิจัยในชั้นเรียน ด้านการจัดองค์การ (Organizing) โรงเรียนบ้านโป่งแดง ควรมีการดำเนินการจัดโครงสร้างขององค์กร เพื่อบริหารงานที่ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนภายในสถานศึกษา โดยมีการแบ่งกรอบหน้าที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายแต่ละบุคคลให้ชัดเจน ตามความรู้ ความสามารถ ความถนัด ความเหมาะสม ด้านการนํา (Leading) โรงเรียนบ้านโป่งแดง ควรมีการพัฒนาบุคลากรให้ได้เข้ารับการอบรม การสัมมนา สนับสนุนให้ครูได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการทําวิจัยในชั้นเรียนและควรมีการพัฒนาปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศ แก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในการทําวิจัยในชั้นเรียน ด้านการควบคุม (Controlling) โรงเรียนบ้านโป่งแดง ควรมีการนิเทศและติดตาม ตรวจสอบประเมินผลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ให้คําปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับการทําวิจัยในชั้นเรียนให้กับครู และมีการสอดแทรกเนื้อหาความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาตรี เกิดธรรม. (2545). อยากทำวิจัยในชั้นเรียนแต่เขียนไม่เป็น. กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชี่ยง.

ดุสิต จันทร์ผง. (2548). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 1. ใน การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปฏิภาณ นาดี. (2559). ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริหารงานด้านการจัดกีฬา โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. เรียกใช้เมื่อ 2 มีนาคม 2563, จากhttp://library. cmu.ac.th/digital_collection/etheses/index.php.

ประภาพรรณ รักเลี้ยง. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

ปริศนา สีเงิน. (2559). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชัย แก้วสุวรรณ. (2548). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วริษา แสนเพชร. (2548). สภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาอําเภอลี้จังหวัดลําพูน. ใน การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุพัตรา บุญเมือง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก http://gg.gg/mvnco

อรัญญา พลเจียง. (2554). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนในอําเภอฝาง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. ใน การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.