รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวาวีวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36

Main Article Content

ธนภูมิ มะลิกุล
พูนชัย ยาวิราช
ไพรภ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวาวีวิทยาคม 2) ศึกษาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวาวีวิทยาคม 3) ศึกษาภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวาวีวิทยาคม และ4) หาแนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวาวีวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ที่ประสบความสำเร็จตามภาพอนาคตที่พึงประสงค์ เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามสุ่มแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่ม และครู จำนวน 40 คน ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์สุ่มแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่ม ครู และศึกษานิเทศก์ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานชุมชน ได้แก่ การวางแผน (Plan) การปฎิบัติ (Do) การตรวจสอบ ประเมินผล (Check) และปรับปรุงและพัฒนา (Act) 2) เหตุและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการชุมชน ได้แก่ ปัจจัยสนับสนุนมากสุดคือ บุคลากร รองมาคือ โครงสร้างและนโยบาย และบริหารจัดการ และปัจจัยฉุดรั้งคือ ประสิทธิภาพการเงิน 3) ภาพอนาคตที่พึงประสงค์การบริหารจัดการชุมชน ได้แก่ 3.1) วิสัยทัศน์ร่วม 3.2) ทีม 3.3) ภาวะผู้นำ 3.4) การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 3.5) ชุมชนกัลยาณมิตร และ 3.6) โครงสร้างสนับสนุน และ 4) แนวทางการบริหารจัดการ ได้แก่ วางแผนการดำเนินงานชุมชนทางวิชาชีพ ปฏิบัติตามแผน ประชุมและร่วมรับผิดชอบ ตรวจสอบประเมินมีส่วนร่วมกำกับ ติดตาม และประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนาประเมินปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบให้ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติสุดา กาศเกษม. (2559). การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลด้วยการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 112-124.

ครู. (17 มกราคม 2564). ภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวาวีวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. (ธนภูมิ มะลิกุล และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)

จักรพันธ์ รัตนเพชร. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชุลีพร เกลี้ยงสง. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การเพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 5(1), 86-98.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (เล่มที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ผู้บริหาร. (17 มกราคม 2564). การจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนวาวีวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. (ธนภูมิ มะลิกุล และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้บริหาร. (17 มกราคม 2564). ภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวาวีวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. (ธนภูมิ มะลิกุล และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)

ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวาวีวิทยาคม อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อน กระบวนการ PLC (Professional Learning Communities : PLC) ชุมชนชนการเรียนรู้สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สุภัทรา สภาพอัตถ์. (2562). การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนมัธยมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุมาลี สังข์ศรี. (2556). การประเมินผลการนํานโยบายการส่งเสริมรักการอ่านสู่การปฏิบัติระดับประถมศึกษาทั้งในรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน. ใน ดุษฎีนิพนธ์บริหารการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

หัวหน้ากลุ่ม. (17 มกราคม 2564). ภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวาวีวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. (ธนภูมิ มะลิกุล และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)

หัวหน้าฝ่าย. (17 มกราคม 2564). การจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนวาวีวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. (ธนภูมิ มะลิกุล และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)

เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2), 123-134.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.

Likert, R. (1997). “The Method of Constructing and Attitude Scale” In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.