แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มยอดดอยเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

ศุภสิทธิ์ พิสัยเลิศ
พูนชัย ยาวิราช
ไพรภ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยอดดอยเทอดไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยอดดอยเทอดไทย และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยอดดอยเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามสุ่มแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 70 คน ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์สุ่มแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย และคณะกรรมการ จำนวน 12 คน รวมทั้งหมด 82 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.48) มีค่าเฉลี่ยมากสุดคือ สร้างบารมีหรือมีอิทธิพลเป็นอุดมคติ รองลงมาคือ คำนึงถึงเอกบุคคล และน้อยสุดคือ สร้างแรงบันดาลใจ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ได้แก่ 2.1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านบุคลิกภาพ ประกอบด้วย การหวั่นไหว การแสดงออก การเปิดกว้าง การยอมรับผู้อื่น และการมีสติ และ 2.2) ปัจจัยภายนอกด้านบรรยากาศองค์กร ประกอบด้วย โครงสร้างองค์กร นโยบายองค์กร และวัฒนธรรมองค์กร และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 3.1) สร้างบารมี เป็นตัวอย่างผู้บริหารที่ชื่นชอบ 3.2) สร้างแรงบันดาลใจ ศึกษาและทำความเข้าใจขอบข่ายภาระงานสถานศึกษา ปฏิบัติตนดี และน่าเคารพ 3.3) กระตุ้นทางปัญญา ศึกษาและวิเคราะห์องค์กรกระตุ้นปัญญาการบริหารและจัดการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จ และ3.4) คำนึงถึงเอกบุคคล ทำความเข้าใจเพฤติกรรมความต้องการ จุดเด่น จุดด้อยแต่ละบุคคลตามศักยภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการ. (17 เมษายน 2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยอดดอยเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (ศุภสิทธิ์ พิสัยเลิศ และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)

ธีรศักดิ์ สารสมัคร. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE). มหาวิทยาราชธานี.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2564). การศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2564 จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/540859

นุชนาถ สุทธการ. (2554). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนคติของข้าราชการครู กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเทิดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (เล่มที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ผู้บริหาร. (15 เมษายน 2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยอดดอยเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (ศุภสิทธิ์ พิสัยเลิศ และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)

พรสุดา ชูพันธ์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(78), 148-158.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). โรงเรียน 4.0 โรงเรียนผลิตภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรสวรรค์ บุญณกรณ์ชัย. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนทวีธาภิเศก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกริก.

สถานศึกษาในกลุ่มยอดดอยเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (2564). ข้อมูลพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2564 จาก http://www.hrschool.ac.th/school-list

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2564). ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจากหลากทัศนะ. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2564 จาก http://suthep.ricr.ac.th

สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). อุบลราชธานี: ยง สวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

หัวหน้าฝ่าย. (15 เมษายน 2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มยอดดอยเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (ศุภสิทธิ์ พิสัยเลิศ และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.