การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทัศนศึกษา หลังสถานการณ์โควิด -19 พื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

นิภาวรรณ เจริญลักษณ์
เนตรตะวัน โสมนาม
ภาณิกานต์ คงนันทะ
วงษ์สิริ เรืองศรี
เริงวิชญ์ นิลโคตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวทัศนศึกษาหลังสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และ 2) พัฒนาข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการภูมิปัญญาท่องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทัศนศึกษาหลังสถานการณ์โควิด -19 เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) หัวหน้าศูนย์เรียนรู้ จำนวน 5 คน 2) ประธานชุมชน จำนวน 10 คน 3) ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 และ 4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 4 คน จำนวนทั้งสิ้น 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า และนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวทัศนศึกษา ประกอบด้วย 1.1) ภูมิปัญญาด้านคติ ความคิด ความเชื่อทางศาสนา 1.2) ศิลปะ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี 1.3) การประกอบอาชีพในท้องถิ่น และ 1.4) แนวคิด หลักปฏิบัติ หรือเทคโนโลยีชาวบ้าน และ 2) พัฒนาข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทัศนศึกษาหลังสถานการณ์โควิด -19 ประกอบด้วย 2.1) พัฒนาฐานข้อมูลการท่องเที่ยวในพื้นที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน 2.2) ส่งเสริมกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 2.3) จัดทำสื่อประชาชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย 2.4) สร้างมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยว 2.5) พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาคู่มือ และ 2.6) หน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวทุกพื้นที่ ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้นทุนที่ดีของชุมชนสามารถพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อเป็นการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน และสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับชุมชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาศึกษา

Article Details

How to Cite
เจริญลักษณ์ น. ., โสมนาม เ. ., คงนันทะ ภ. ., เรืองศรี ว. ., & นิลโคตร เ. . (2022). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทัศนศึกษา หลังสถานการณ์โควิด -19 พื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 5(2), 20–38. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/2213
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คณะเทคนิคการแพทย์. (2562). โครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัย การตรวจรับรองเกษตรและอาหารปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลงในกลุ่มภาคกลาง ปีงบประมาณ 2561. นครปฐม: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐอร เบญจปฐมรงค์ และชุติกา เกียรติเรืองไกร. (2565). การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทย กับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/25650392TheKnowledge_Travel.aspx

ทรงคุณ จันทจร และคณะ. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิภาวรรณ เจริญลักษณ์. (2562). การจัดการภูมิปัญญาส้มโอนครชัยศรี: การเรียนรู้และการจัดการตนเองตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. The Liberal Arts Journal, 2(2), 28-46.

พัชรินทร์ สิรสุนทร และจิรวัฒน์ พิระสันต์. (2552). ชุมชนปฏิบัติการด้านการเรียนรู้: แนวคิด เทคนิค และกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้น์ จำกัด.

สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ และกุณฑิญา จิรทิวาธวัช. (2652). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ปริมาณฑลของกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 390-406.

สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.nakhonpathom.go.th/files/com_news_develop_plan/2022-06_befcd92133e762c.pdf