อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ภายใต้เศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่กับการส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิตของชุมชนไทดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ภายใต้เศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ของชาวไทดำ และ 2) เสนอแนวทางการธำรงอัตลักษณ์วัฒนธรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจงจำนวน 4 ครอบครัว โดยจำแนกออกเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ รวมจำนวน 23 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแนวคำถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และตรวจสอบคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1. อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ภายใต้เศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ของชาวไทดำ มี 3 ด้าน คือ 1.1) เศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในลักษณะการลดทอนอัตลักษณ์วัฒนธรรม มีผลต่อการสนับสนุนและส่งต่อชุดข้อมูลเชิงเศรษฐกิจ ในลักษณะการอยู่ร่วมกันและขับเคลื่อนไปตามกระแสวัฒนธรรมชาติ 1.2) เศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในลักษณะการรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์วัฒนธรรม มีลักษณะปรับเปลี่ยนโดยพฤติกรรมการแสดงออกเพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจ และ 1.3) เศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในลักษณะแพร่ขยายอัตลักษณ์วัฒนธรรม มีลักษณะเชิงลบมากกว่าเชิงบวกโดยลดทอนอัตลักษณ์มากกว่าสนับสนุนหรือฟื้นฟู และ 2) แนวทางการธำรงอัตลักษณ์วัฒนธรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มี 5 ด้าน คือ 2.1) การเรียนรู้และปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง 2.2) การสร้างความตระหนักคุณค่าทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ 2.3) การส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางสังคม 2.4) การสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความภาคภูมิใจในทุนวัฒนธรรมของชุมชน และ 2.5) การส่งเสริมการดำเนินชีวิตในความเป็นชาติพันธุ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2557). ภาษาศาสตร์สารคดีกับสารสืบสานภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทยซ่ง/ไทดำ. วารสารศิลปศาสตร์, 14(1), 123-149.
ชิตชยางค์ ยมาภัย และพูธ คูศรีพิทักษ์. (2562). ‘ผู้กบฏ’ ปะทะ ‘นักปฏิรูป’: ยุทธการสืบสานวัฒนธรรมในสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(3), 48-62.
นภาพร อัศวะรังสีกุล. (2562). ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง.งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จาก https://www.rsucon.rsu.ac.th/proceedings
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2557). ชาติพันธุ์กับเสรีนิยมใหม่. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์กรมหาชน).
เริงวิชญ์ นิลโคตร และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวผู้ไทยบ้านคำกั้ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 5(2), 1-18.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). (2557). เสียงแห่งชาติพันธุ์ในโลกเสรีนิยมใหม่. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
สมทรง บุรุษพัฒน์ และคณะ. (2554). การใช้ภาษาและทัศนคติต่อภาษาและการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ของกลุ่มนครปฐม. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 / จัดทำโดย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2574. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Cropley, A. J. & Dave R. H. (1978). Lifelong education and the training of teachers Online. Retrieved October 2565, 14, from https://doi.org/10.1016/C2013-0-03038-1