ภาวะผู้นำของเยาวชนยุคดิจิทัล: การเสริมศักยภาพนักศึกษาด้านการพัฒนาทักษะทางวิชาการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาคตะวันตก

Main Article Content

นิภาวรรณ เจริญลักษณ์
วงษ์สิริ เรืองศรี

บทคัดย่อ

เยาวชนคนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ออกแบบและวางแผนทางในการเสริมศักยภาพเพื่อให้เหมาะสม บทความวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทเรียนการเสริมศักยภาพภาวะผู้นำของเยาวชนยุคดิจิทัล และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชนยุคดิจิทัล เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีเค้าโครงในการสัมภาษณ์เชิงลึก 5 คน และสนทนากลุ่ม 10 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่มีคุณสมบัติ คือ 1) มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ 2) มีประสบการณ์ในการทำงานจิตอาสา และ 3) ยินดีให้ข้อมูลในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการศึกษาพบว่าการเสริมศักยภาพผู้นำของเยาวชน คือ การมีเป้าหมายร่วม การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นทีม การคิดเชิงบวก และเข้าใจเชิงระบบ กระบวนการเสริมศักยภาพที่เป็นขั้นตอน ประกอบด้วย 4 ลำดับ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความต้องการ เป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ข้อมูล 2) การเสริมศักยภาพ เป็นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 3) การเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ และ 4) สรุปบทเรียนประเมินผล กระบวนการดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการเสริมศักยภาพเยาวชนให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เท่าทันกับสถานการณ์ได้ อีกทั้งจะเกิดกระบวนการเรียนรู้คู่กับการฝึกทักษะที่จำเป็น การวิเคราะห์สังคมได้ การอบรมตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ การมีทักษะการประสานสัมพันธ์และการทำงานท่ามกลางวัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลาย ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมภาพรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2565 (ผนวก

รวมแผนปฏิบัติการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เจ. เอส. การพิมพ์.

ชญานิษฐ์ ศศิวิมล. (2557). การพัฒนาเด็กและเยาวชนพลายชุมพลเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้. Life Sciences and Environment

Journal, 13(1), 62-69.

ธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย และสุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เบญญาพัชร์ วันทอง. (2559). ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาเยาวชนด้านทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบล

พลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารครุพิบูล, 3(2), 76-85.

ปมณฑ์ สุภาพักตร์ และคณะ. (2562). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำเยาวชนด้านเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

นเรศวร, 21(2), 165-175.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัท

พิมพ์สวย.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2559). ฟา: ทักษะสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ Facilitator Skill For Modern Management. กรุงเทพมหานคร: อริยชน.

วิศาล ศรีมหาวโร. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย: กรณีศึกษาเยาวชนจังหวัด

สุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(1), 148-155.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานวิจัยแนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) : ประสบการณ์

นานาชาติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ: หลุดจากกับดัก... ขยับสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการอุดมศึกษา

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.