การใช้โปรแกรม Thai Health Dee เพื่อประเมินสถานะสุขภาพและความรอบรู้สุขภาพด้านเทคนิคการแพทย์ในการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพระยะยาวในกลุ่มประชาชนสุขภาพดี : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน

Main Article Content

วสุอนันต์ ทองดี
บรรจง กิตติสว่างวงค์
ประสิทธิ์ หมั่นดี
เริงวิชญ์ นิลโคตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้สุขภาพด้านเทคนิคการแพทย์ และ 2) ประเมินความรอบรู้สุขภาพของกลุ่มประชาชนสุขภาพดี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1  การศึกษาเชิงปริมาณ ประชาชนที่มาตรวจสุขภาพที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว โดยการตรวจเลือด ปี 2563 – 2564 จำนวน 240 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ และ ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน จำนวน 12 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรอบรู้สุขภาพด้านเทคนิคการแพทย์ คือ รายการตรวจเลือดของกลุ่มประชากรอยู่ในระดับ เข้าใจบ้าง เข้าใจมาก และเข้าใจดีเยี่ยมมาก ร้อยละ  56.3, 34.6 และ 6.3 ตามลำดับ ผู้เข้าร่วมวิจัยเลือกการตรวจสุขภาพประจำปีด้วยตัวเองเพื่อการป้องกันโรคระยะยาวด้วยตัวเองมากกว่าวิธีใช้หลักการ 3 อ. 2 ส. ร้อยละ 79.2 และ 50.4 ตามลำดับ (P-value =1.000) และผู้เข้าร่วมวิจัยมีความต้องการสนใจใช้โปรแกรม Thai Health Dee เพื่อประเมินสถานะสุขภาพในการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพ และการจัดการตนเองทางสุขภาพได้ในระยะยาว ร้อยละ 99.2 และ 2) ประเมินความรอบรู้สุขภาพของกลุ่มประชาชนสุขภาพดีพบว่า มีความสนใจใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศโปรแกรม Thai Health Dee 99.2% และไม่สนใจใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศโปรแกรม Thai Health Dee 0.8% ผลการศึกษาสะท้อนถึง ความสำคัญของการประเมินสถานะสุขภาพและความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพระยะยาวในกลุ่มประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสุขศึกษา. (2560). การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ. เรียกใช้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2560 จาก

http//www.hed.go.th.

กองสุขศึกษา. (2561). เครื่องมือและโปรแกรมประเมิน HL และ HB ปี 2561. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จาก

http://www.hed.go.th/linkHed/index/314 2560.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่12

พ.ศ. 2560-2564. เรียกใช้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2560 จาก http://wops.moph.go.th/

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิมล โรมา. (2560). การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่1). เรียกใช้เมื่อ 17 กรกฎาคม

จาก https://www.hsri.or.th/

Nutbeam D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and

communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000, 15(3), 259-67.

WHO. (1998). Health Promotion Glossary. Retrieved กรกฎาคม 17, 2560, from

https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HPR-HEP-98.1

World Health Organization. (1948). Preamble to the Constitution of the World Health Organization as adopted by the

International Health Conference. Geneva: World Health Organization.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

Zhou, W. & Chen, M. (2016). diabetes researchand clinical practice. Retrieved กรกฎาคม 17, 2560, from

www.elsevier.com/locate/diabres