รีไซเคิล : แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ กรณีศึกษา ศูนย์เรียนรู้ และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำพรรณรา อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ยงยุทธ ชูลี
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อนุชิต ปราบพาล
พระครูสิทธิสุตากร (สุเมต พรหมพัฒน์)
พระวุทธ สุเมโธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ สภาพปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และแนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มแม่บ้านของศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำพรรณรา อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 8 คน ผู้ให้ข้อมูลรอง คือ ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ จากศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำพรรณรา อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ พบว่า 1.1) การเลือกใช้วัสดุ ที่หาได้จากครัวเรือน เพื่อลดการทิ้งขยะในชุมชน 1.2) คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ 1.3) ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถสะดวก ต่อการการนำกลับมาใช้ใหม่ 1.4) ออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีความทนทานใช้งานได้นานขึ้น และ 1.5) สามารถปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หนึ่งไปเป็นผลิตภัณฑ์อีกอย่างหนึ่งได้ 2) สภาพปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ พบว่า 2.1) สภาพปัญหาการบริหารจัดการผลิต 2.2) สภาพปัญหาการผลิตกระบวนการที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม 2.3) สภาพปัญหาการจัดเตรียมวัสดุ และ 2.4) สภาพปัญหาการตลาด 3) แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ พบว่า 3.1) แนวทางการส่งเสริมการผลิตที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยการใช้ความคิดเริ่ม 3.2) แนวทางแก้ปัญหาการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์จักสาน 3.3) แนวทางการวางแผนการเลือกวัสดุ และการบริหารความเสี่ยงในการผลิต และ 3.4) แนวทางแก้ปัญหาพัฒนาสื่อการตลาด

Article Details

How to Cite
ชูลี ย., เดโชชัย อ., ดำรงวัฒนะ จ., แขน้ำแก้ว เ. ., ปราบพาล อ., (สุเมต พรหมพัฒน์) พ. ., & สุเมโธ พ. . . (2024). รีไซเคิล : แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ กรณีศึกษา ศูนย์เรียนรู้ และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำพรรณรา อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 6(2), 1–12. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/4465
บท
บทความวิจัย

References

กรณัท สุขสวัสดิ์. (2562). เพิ่มมูลค่าจากของเหลือทิ้ง สู่ ”กระดาษใบไผ่”. เรียกใช้เมื่อ 2 มกราคม 2567. จาก https://siamrath.co.th/n/114418

กุลนาถ ตันพาณิชรัตนกุล. (2553). การสร้างรูปแบบบรรจุภัณฑ์จากเศษไม้ยางพารา เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภาคใต้ กรณีศึกษาเรือกอและจำลองภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐากร ถาวรโชติวงศ์. (2561). โครงการออกแบบผลงานสร้างสรรค์จากเศษวัสดุในหัตกรรมไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยาภรณ์ คำยิ่งยง. (2558). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พอหทัย ซุ่มสั้นและคณะ. (2559). โครงการต้นแบบกลุ่มหมู่บ้านผลิตภัณฑ์จักสาน ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ยะลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เมทิกา พ่วงแสง และหญิง มัทนัง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 55-66.

วาสนา เจริญวิเชียรฉาย. (2552). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจากวัสดุเหลือใช้. เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2567. จาก http://www.fa.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2011/07/การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจากวัสดุเหลือใช้.pdf

วุฒิชัย วิถาทานัง. (2558). การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเพื่อการส่งออก. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 67-83.

ศรินทิพย์ ภัสดาวงศ์. (2548). ปัจจัยความสำเร็จในธุรกิจประเภทสินค้าของขวัญและของประดับตกแต่งบ้าน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สาคร คันธโชติ. (2547). การออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.