หลามข้าวนากัน: องค์ความรู้การผลิตข้าวหลามในชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านนากัน หมู่ที่ 1 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุกัลย์ เจ๊ะระวัง
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
พระครูพัฒนาปัญญาทร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการผลิตข้าวหลามของชุมชมบ้านนากัน สภาพปัญหาการผลิตข้าวหลามของชุมชนบ้านนากัน และแนวทางในการสืบทอดองค์ความรู้ในการผลิตข้าวหลามของชุมชนบ้านนากัน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลัก กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ทำข้าวหลาม จำนวน 5 ครอบครัว และผู้ให้ข้อมูลสำคัญรอง กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ส่งเสริม และผู้สนับสนุน หลามข้าวนากัน จำนวน 5 คน องค์ความรู้การผลิต ข้าวหลามในชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านนากัน หมู่ 1 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการผลิตข้าวหลามของชุมชมบ้านนากัน พบว่า 1.1) วัสดุอุปกรณ์ในการทำข้าวหลาม 1.2) ส่วนผสมในการทำข้าวหลาม 1.3) ขั้นตอนการทำข้าวหลาม 1.4) การเผาข้าวหลาม 1.5) การเก็บรักษาข้าวหลาม และ 1.6) การสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ 2) สภาพปัญหาการผลิตข้าวหลามของชุมชนบ้านนากัน พบว่า 2.1) อายุในการเก็บรักษาน้อยลง 2.2) ต้นทุนในการผลิตสูง 2.3) ไม่มีหน่วยงานสนับสนุนอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง 2.4) การไม่พัฒนาสูตรยังคงทำรูปแบบเดิม 2.5) การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้นำมาผลิตข้าวหลาม และ 2.6) ขาดการสืบทอดองค์ความรู้ และ 3) แนวทางในการสืบทอดองค์ความรู้ในการผลิตข้าวหลามของชุมชนบ้านนากัน พบว่า 3.1) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวหลามให้เป็นเศรษฐกิจชุมชน 3.2) การส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชน และ 3.3) การส่งเสริมให้เกิดการสืบทอดองค์ความรู้ของการผลิตข้าวหลามให้คนรุ่นใหม่ในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการหมู่บ้าน. (2562). สรุปผลการดำเนินงาน คณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านป่าพรุ หมู่ที่ 1 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง. นครศรีธรรมราช: องค์การบริหารส่วนตำบลนาเรียง.

ณัฐธิดา สุวรรณโณ และสุวิทย์ สุวรรณโณ. (2555). โมบายล์แอพพลิเคชั่นระบบสืบค้นและเรียนรู้อัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นภาคใต้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นรินทร์ เจริญพันธ์ และสุธี วังเตือย. (2558). โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหลามเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลเกษตรท้องถิ่นของจังหวัดสระแก้ว. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นลินอร นุ้ยปลอด และณพัฐอร บัวฉุน. (2563). การศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 23(2), 51-57.

ประภัสสร ทองยินดี. (2558). ภูมิปัญญาไทย: องค์ความรู้ที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคมไทย. เรียกใช้เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10- 58(500)/page3-10-58 (500).htm

ประมุข ศรีชัยวงษ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารพื้นบ้านเป็นผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(ฉบับพิเศษ), 255-268.

วิมลสิริ รุจิภาสพรพงศ์. (2550). การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาการทำข้าวหลามในชุมชนพระงาม จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิชา หมดมลทิล. (2563). ยกระดับฐานรากด้วยสินค้าชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/2020/03/GR_hotissue_yok_ra_darp_1_63_detail-1.pdf

สุเทพ พันธ์ประสิทธิ์. (2554). การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เสรี พงศ์พิศ. (2551). แนวคิด แนวปฏิบัติ ยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์.