แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชน กรณีศึกษา สถาบันการเงินชุมชน บ้านคลองจัง หมู่ที่ 4 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อรอุมา รัตนพันธ์
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
บุญยิ่ง ประทุม
ดำรงพันธ์ ใจห้าววีระพงศ์
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ
พระมหาดวงทิพย์ ปริยตฺติธารี
พระปราโมทย์ พันธพัฒน์
จรัญ ศรีสุข
ทศพร คุ้มภัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชน สภาพปัญหาการดำเนินงานสถาบันการเงินชุมชน และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสถาบันการเงินชุมชน บ้านคลองจัง หมู่ที่ 4 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลัก กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ที่เป็นสมาชิกสถาบันการเงินชุมชน บ้านคลองจัง จำนวน 11 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญรอง กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมสถาบันการเงินชุมชน บ้านคลองจัง จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา มีการลงสำรวจพื้นที่ชุมชนบ้านคลองจัง โดยการนัดวัน เวลา และสถานที่พบปะกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้น สร้างความสัมพันธ์ ติดต่อประสานงาน เก็บข้อมูลรายละเอียดแบบเจาะจงในแต่ละประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินชุมชน บ้านคลองจัง ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนบ้านคลองจัง ประกอบด้วย 1.1) ด้านการจัดการองค์กร 1.2) ด้านการเงิน 1.3) ด้านบุคลากร 1.4) ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ปฏิบัติงาน 1.5) ด้านองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสาร 2) สภาพปัญหาการดำเนินงานสถาบันการเงินชุมชนบ้านคลองจัง พบว่า 2.1) ปัญหาด้านคน 2.2) ปัญหาด้านงาน 2.3) ปัญหาด้านวิธีการทำงาน และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสถาบันการเงินชุมชนบ้านคลองจัง พบว่า 3.1) การพัฒนาการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการบุคคล 3.2) การพัฒนาวิธีการทำงานแบบการมีส่วนร่วม 3.3) การพัฒนาให้เกิดความเสมอภาค หรือความเท่าเทียมกัน 3.4) การพัฒนาให้มีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถของบุคคล 3.5) การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). แนวทางการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน (ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน). เรียกใช้เมื่อ 30 ธันวาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/7wbUr

นิชธิมา วิสุทธิอาภา. (2563). การทบบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเงินชุมชน. ใน รายงานการทบบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเงินชุมชน. มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

พงษ์นรินทร์ อัสวเศรณี และคณะ. (2541). กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกิจกรรมเครือข่ายกรม การพัฒนาชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.gotoknow.org/posts

พระมหาประยูร ธีรวโร. (2565). วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 3(1), 33-40.

ภาวิณี พูลเกิด. (2556). การพัฒนาระบบบัญชีสำหรับสถาบันการเงินชุมชน: การพัฒนาระบบบัญชีสำหรับสถาบันการเงินชุมชน. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ยุทธชัย สุกุลพฤทธิ์. (2552). การเป็นสมาชิกของสถาบันการเงินชุมชน : กรณีศึกษาสถาบันการเงินชุมชน ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิฑูร สิมะประเสริฐ และคณะ. (2564). ศึกษาการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์, 8(4), 103-117.

สฤณี อาชวานันทกุล และปัทมาวดี. (2557). คู่มือองค์กรการเงินชุมชน: แนวทางการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนต์พับลิสซิ่ง จำกัด.

สายชล ปัญญชิต. (2555). การพัฒนากองทุนหมู่บ้านไปสู่สถาบันการเงินชุมชนฯ. วารสารวิทยบริการ, 23(3), 148-163.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (2560). กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกิจกรรมเครือข่าย. เรียกใช้เมื่อ 30 ธันวาคม 2566 จาก

https://shorturl.asia/N2sru