ครูหมอปี่ : พิธีกรรมและความเชื่อของครูหมอปี่ บ้านนาโต๊ะแถม หมู่ที่ 11 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กัญญาพัชร รัตนพันธุ์
สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
บุญยิ่ง ประทุม
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
พระมหาดวงทิพย์ ปริยตฺติธารี
พระปราโมทย์ พันธพัฒน์
พระวุทธ สุเมโธ
จักรกฤษ เลิศลับ
ทศพร คุ้มภัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพิธีกรรมและความเชื่อของครูหมอปี่ และเพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์สืบทอดครูหมอปี่บ้านนาโต๊ะแถม หมู่ที่ 11 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลัก กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ทรงครูหมอปี่หลัก จำนวน 1 คน 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญรอง กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ทรงครูหมอปี่สำรอง จำนวน 3 คน 3) กลุ่มผู้ประกอบพิธีกรรม จำนวน 3 คน 4) กลุ่มที่สนใจร่วมพิธีกรรมเป็นประจำ จำนวน 5 คน 5) กลุ่มผู้ที่สืบทอดครูหมอปี่ จำนวน 3 คน พิธีกรรมและความเชื่อของครูหมอปี่ บ้านนาโต๊ะแถม หมู่ที่ 11 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา 
ผลการวิจัยพบว่า 1) พิธีกรรมการอัญเชิญครูหมอปี่ พบว่า จะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการบูชาไม่ว่าจะเป็น ดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อนำมาทำพิธี ขั้นตอนแรกในการทำพิธี เราจะต้องทำพิธีการอัญเชิญก่อนเพื่อเป็นการขับขานวิณญาณให้ครูหมอมาประทับร่าง เนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีครู แล้วเริ่มทำการเป่าปี่กาหลอเป็นขั้นตอน ต่อไป 2) พิธีกรรมการรักษาคนถูกของให้หายเจ็บป่วย พบว่า ความเชื่อในเรื่องครูหมอปี่ในวงกาหลอเกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย คนในสมัยก่อนบางกลุ่มจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะคนในสมัยก่อนถือว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้จะช่วยคุ้มครอง และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ การตั้งให้กินของครูหมอปี่จะตั้งปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนห้า และเดือนสิบตามธรรมเนียมของคนโบราณ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2551). ภูมิปัญญาชาวบ้านในงานพัฒนา. วารสารสังคมการพัฒนา, 8(5), 7-8.

ชัยพร วิชชาวุธ. (2530). การเกิดความเชื่อ. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2566 จาก https://www.nova bizz.com/NovaAce/Intelligence/Beliefs.htm

ดำรง ฐานดี. (2551). ความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร: รามคำแหง.

ทรงคุณ จันทจร และปิติ แสนโคตร. (2540). การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีเหยาของชาว ผู้ไทย: ศึกษากรณีชาวผู้ไทยอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนภัทร์ ไกรเทพ และสุพจน์ยุคลธรวงศ์. (2555). กาหลอ ดนตรีในพิธีศพ: กรณีศึกษาคณะมีนากาหลอ บ้านต้นส้มเหม้า ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดรัง. วารสารมนุษยศาสตร์, 19(2), 130-144.

ปานตา ศรีคง. (2560). พิธีกรรม และความเชื่อดนตรีกาหลอ ครูสมพงศ์ บุญมาเกิด. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระมหามนัสวี ฐิตธมฺโม. (2564). การจัดการความเชื่อที่มีผลต่อจิตใจ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 61-76.

ราชบัณฑิตสถาน. (2546). สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วรรณกร พลพิชัย และเจตนา อินยะรัตน์. (2561). การศึกษาความเชื่อ พิธีกรรม และรูปแบบการสืบทอดครูหมอโนราและโนราโรงครู ในตำบลปริก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน รายการการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สุวนันท์ อินทรง. (2556). หลักการศึกษาทักษะความเชื่อ. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตศิลปะศาสตร์ สาขาศิลปะการแสดง. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.