ข้าวเกรียบดาโต๊ะ : แนวทางส่งเสริมการตลาด กรณีศึกษากลุ่มทำข้าวเกรียบในพื้นที่ชุมชนบ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

สุไฮนี สมาแอ
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร
เชษฐา มุหะหมัด
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญโญ
พระครูวินัยธรสุริยา สุริโย
พระมหาดวงทิพย์ ปริยตฺติธารี
พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที
พระวุทธ สุเมโธ
สมบัติ อรรถพิมล
ทศพร คุ้มภัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำข้าวเกรียบ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำข้าวเกรียบ และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมด้านการตลาด ของชุมชนบ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน และผู้ให้ข้อมูลรอง จำนวน 3 คน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า วิธีการทำข้าวเกรียบ ชุมชนบ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 1) ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ คือ การเตรียมปลา และวัตถุดิบอื่น ๆ 2) การผสมวัตถุดิบ ประกอบด้วย เนื้อปลาหลังเขียว แป้งมันสำปะหลัง, แป้งสาคู, น้ำตาลทราย, ผงฟู, เกลือป่น, ไข่เป็ด และน้ำ ตามสัดส่วนที่วางไว้ และ 3) วิธีการตากแห้ง จะตากข้าวเกรียบบนแผงข้าวเกรียบ ปัญหาและอุปสรรคในการทำข้าวเกรียบ ชุมชนบ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบว่า 1) ปัญหาการขาดเงินทุน เงินทุนไม่พอใช้จ่ายในการทำข้าวเกรียบ 2) ปัญหาด้านแรงงาน คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสู้งาน ไม่มีความขยันหมั่นเพียร และ 3) ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาฝนฟ้าอากาศ ไม่สามารถตากข้าวเกรียบได้ แนวทางการส่งเสริมด้านการตลาด ชุมชนบ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 1) การโฆษณา มีบรรจุภัณฑ์ที่เรียบง่าย 2) การขายโดยพนักงานขาย ช่วยผลักดันสินค้าในการผลิตข้าวเกรียบ 2 ช่องทาง 3) การตลาดทางตรง ช่วยส่งเสริมในด้านการตลาด 4) การบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน การสร้างโอกาสในการลงทุน จัดทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย และ 5) การจัดจำหน่าย จะนำข้าวเกรียบไปส่งขายตามร้านค้าชุมชน ตลาดนัดชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมคาย แสงทองคำ และคณะ. (2558). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้าธนาคารกสิกรไทยในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 62-69.

จิตต์ใส แก้วบุญเรือง. (2546). การดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ประสบผลสำเร็จในจังหวัดลำปาง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิธิดา พระยาลอ และลำปาง แม่นมาตย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหารในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค

ที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 38-51.

ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ. (2558). การบริหารเงินทุนหมุนเวียน. วารสารสารสนเทศ, 14(2), 7-19.

มะรอฮิม สาแม. (9 ตุลาคม 2563). ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. (สุไฮนี สมาแอ, ผู้สัมภาษณ์)

วิภาดา มุนินทร์นพมาศ. (2561). หลักการแปรรูปและถนอมอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

สมาน ยูซง. (2556). แนวปฏิบัติในการส่งเสริมอาชีพชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการ อัล - ฮิกมะฮ มหาวิทยาลัย

อิสลามยะลา, 3(5), 51-60.

สยุมพร รัตนพันธ์ และเชาว์ อินทร์ประสิทธิ์. (2561). ผลของเวลาในการนึ่งต่อคุณภาพของข้าวเกรียบจากแป้งมัน สำปะหลัง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(3),

- 543.

สุทธิทัติ นามแฝง. (2553). “อภิวัฒน์ วังวิวัฒน์” เจ้าของข้าวเกรียบมโนราห์ 2. เรียกใช้เมื่อ 9 มกราคม 2567 จาก https://thaiwhoiswho.blogspot.com/2011/10/2.html.

สุพาณี จตุรภุชาภรณ์. (2547). การใช้เศษเหลือจากกุ้งเพื่อเสริมแคลเซียมในข้าวเกรียบ. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โสภา ธนาเขต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปรุงรสเสริมน้ำสกัดจากใบขลู่. ใน วิทยานิพนธ์คหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อรอนงค์ เดชโยธิน และคณะ. (2560). การพัฒนาการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบโครงการที่เน้นการคิดแก้ปัญหา. วารสารศึกษา

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 305-317.