ยาหนัด: แนวทางส่งเสริมการปลูกสับปะรดในสวนยางพารา กรณีศึกษา: เกษตรกรรายย่อยตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอนจังหวัดพัทลุง

Main Article Content

กรกนก เอี่ยมระยับ
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปลูกสับปะรดในสวนยางพารา สภาพปัญหาการปลูกสับปะรด และแนวทางส่งเสริมการปลูกสับปะรดในสวนยางพารา กรณีศึกษา: เกษตรกรรายย่อย ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเกษตรกรรายย่อย คือผู้ที่ทำการปลูกสับปะรด จำนวน 4 ครัวเรือน ได้แก่ 1) ครอบครัวนายบุญลาพ แพ่งเมือง 2) ครอบครัวนายสมปอง พลูสวัสดิ์ 3) ครอบครัวนายถาวโรจน์ ขุนพลช่วย 4) ครอบครัวนางสมจิต แก่นแก้ว โดยการเลือกจำเพราะเจะจงเพื่อมาให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) บันทึกการสังเกต    3) เครื่องบันทึกเสียง 4) เครื่องบันทึกภาพ ผลการวิจัยพบว่า: 1) วิธีการปลูกสับปะรดในสวนยางพารา พบว่ามีขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ 1.1) การเตรียมพื้นที่  อันดับแรกมีการปรับระดับดินให้เรียบ เพื่อการดูแลได้สม่ำเสมอ 1.2) การเตรียมดินปลูก อันดับแรกคือการเตรียมอุปกรณ์ใช้ 1.3) ปลูกสับปะรด โดยใช้แขนงอ่อน และโดยใช้จุกหรือยอด 1.4) ฤดูที่เหมาะต่อการปลูกสับปะรดเริ่มต้น เดือน มกราคม – เดือน เมษายน 1.5) การควบคุมและกำจัดวัชพืช การควบคุมวัชพืชจากสับปะรด 1.6) การเก็บเกี่ยวสับปะรด มีการเตรียมอุปกรณ์ในการเก็บเกี่ยว  2) สภาพปัญหาการปลูกสับปะรด พบว่า 2.1) ปัญหาหน่อพันธุ์มีราคาแพง 2.2) ปัญหาโรคระบาด เช่น โรคเชื้อรา โรคเน่า โรคไหม้เกรียม และแมลงศัตรูพืชเป็นต้น 2.3) ปัญหาผลผลิตตกต่ำ 2.3) แนวทางส่งเสริมการปลูกสับปะรดในสวนยางพารา พบว่า 3.1) มีแนวทางส่งเสริมการสร้างสายพันธุ์สับปะรดป่าบอน 3.2) มีแนวทางส่งเสริมการควบคุมโรคระบาด  3.3) มีแนวทางส่งเสริมด้านราคา 3.4) มีแนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตทางการเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2559). เกษตรดีที่เหมาะสม สําหรับสับปะรด. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เกรียงไกร นิยมาส. (2550). เทคนิคและปัญหาการผลิตสับปะรดในเขตบ้านนางแล และบ้านป่าซางวิวัฒน์ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

งานเกษตรสำนักปลัดเทศบาลตำบลปง. (2560). จุลินทรีเกษตรผสมผสาน. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2561 จาก https://www.ponglocal.go.th/test3/

จารุพันธ์ ทองแถม. (2546). สับปะรด และอุตสาหกรรมสับปะรดในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิทยา.

จินดารัฐ วีระวุฒิ. (2551). สับปะรด และสรีรวิทยาการเจริญเติบโตของสับปะรด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิราพรรณ คล้ายกิจจา. (2550). สับปะรด. กรุงเทพมหานคร: อักษรสยามการพิมพ์.

ดนัย นาคประเสริฐ. (2557). การผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี. วารสารวิชาการเกษตร, 32(2), 116-127.

นพ ตัณมุขยกุล. (2556). สับปะรด (ชุดเกษตรกรรมลองทำดู). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์.

พรรณวดี ทองแดง. (2555). สภาพการผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรีเพชรบุรี. เพชรบุรี: กรมส่งเสริมการเกษตร.

วศินาฏ ทองบุคดี. (2547). สภาพการผลิตสับปะรดของเกษตรกร จังหวัดหนองคายหนองคาย. หนองคาย : สำนักงานการเกษตรหนองคาย กรมส่งเสริมการเกษตร.

สำนักงานเกษตรอำเภอป่าบอน. (2561). ส่งเสริมการผลิตและการป้องกันกำจัดโรคพืชด้วยสารชีวภัณฑ์. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2561 จาก https://th-th.facebook.

com/kasetpabon