ยิ้มชาวนา : แนวทางส่งเสริมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำนาบ้านป่าไหม้ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนา 3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ จำนวน 18 คน ผู้สนับสนุน และส่งเสริมการทำนาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัย พบว่า 1) การผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ ประกอบด้วย 1.1) การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว 1.2) การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว 1.3) การปลูกข้าว แบ่งเป็น 2 แบบ 1.4) การดูแลรักษา ต้องคอยบำรุงต้นข้าวด้วยปุ๋ยตามช่วงอายุของการเติบโต 1.5) การเก็บเกี่ยว นับจากวันที่ปลูกประมาณ 120 - 130 วัน การเก็บเกี่ยวแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบใช้แรงงานคน และเครื่องจักร 2) สภาพปัญหาการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ ประกอบด้วย 2.1) ปัญหาด้านเงินทุน 2.2) ปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำท่วมในช่วงหน้าฝน เนื่องจากเป็นที่รับน้ำ 2.3) ปัญหาด้านการตลาด กลุ่มผู้บริโภคเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้ไม่สามารถขยายตลาดได้มากนัก 3) แนวทางส่งเสริมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาบ้านป่าไหม้ ประกอบด้วย 3.1) การส่งเสริมเครือข่ายองค์กรชุมชน 3.2) ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.3) การส่งเสริมด้านการตลาด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวิทย์ ตันศรี. (2557). แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2564 จาก http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/Northeast/Research/DocLib_Research/04-Labor%20with%20Agri%20Changing.pdf
ชัยวัฒน์ แพทย์กูล. (2557). ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ธัญพืชเพื่อสุขภาพ. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2564 จาก https://health.kapook.com/view99263.html
นัยนา ช่างทอง. (2561). ข้าวไรซ์เบอรี่ จากสุขภาพดีสู่การมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2564 จาก https://www.rakbankerd.com/agriculture/millionaire-view.php?id=94
ประพาส วีระแพทย์. (2553). “ข้าว” ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 16 โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. กรุงเทพมหานคร: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
ประวิทย์ มณีจันทร์. (2547). การส่งเสริมการตลาด เอกสารชุดวิชาการสอนวิชาการส่งเสริม การตลาด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรทิพย์ อุดมสิน. (2554). รูปแบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตรหน่วยที่ 2 ในการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พัชรี ตั้งตระกูล. (2555). การแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ภัทร์ธีรา พุฒิมา และกัลยาลักษณ์ วิเศษทักษ. (2557). “การรับรู้ และปรับตัวของชาวนาในพื้นที่น้ำท่วมอําเภอบางระกํา จังหวัดพิษณุโลก”. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 1 (1 พฤศจิกายน 2565).
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สุภารัตน์ กาฬภักดี. (2560). “ขั้นตอนการทำนา”. เรียกใช้เมื่อ 17 มีนาคม 2564 จาก https://www.laplastic.biz/how-to-grow-rice.html
อุบลรัตน์ ชมเสียง. (2560). ข้าวไรซ์เบอรี่ อินทรีย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้.
เอนก พนาอภิชน. (2560). โครงการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2564 จาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-41009