รูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 2) สร้างรูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 403 คน เลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้เชี่ยวชาญการบริหารตามศาสตร์พระราชา จำนวน 21 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาฯ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารด้วยหลัก 3 ป. 2) การจัดการความรู้ด้วยหลักการเข้าถึง 3) การมีส่วนร่วมด้วยหลักการเข้าใจ และ 4) การปฏิบัติงานด้วยหลักการพัฒนา รูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ส่วนที่ 2 กระบวนการสู่ความสำเร็จ ส่วนที่ 3 ผลผลิต ส่วนที่ 4 ผลลัพธ์ และส่วนที่ 5 เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ และผลการประเมินรูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีผลการประเมินด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
จารุวรรณ ตาลสุกเรือง. (2566). รูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปกรณ์กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์ และคณะ. (2563). ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการบริหารการศึกษาอย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(2), 21-42.
รอง ปัญสังกา และคณะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนสีขาวตามแนวทางศาสตร์พระราชาสู่ความยั่งยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. Creative Science, 2(4), 1-16.
สมบัติ นพรัก. (2561). ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รายงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชา สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ เรื่อง การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). รายงานการขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ ประจำปี 2566. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: ธนอรุณการพิมพ์.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2564). นิทัศน์แนวคิดและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.