แพะปลายคลอง: แนวทางการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะของเกษตรกรรายย่อย กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านปลายคลอง หมู่ที่ 6 ตำบลเชียรเขา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิธีการเลี้ยงแพะ สภาพปัญหาการเลี้ยงแพะ และแนวทางส่งเสริมการเลี้ยงแพะของเกษตรกรรายย่อย ชุมชนบ้านปลายคลอง หมู่ที่ 6 ตำบลเชียรเขา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ จำนวน 2 คน และ 2) ผู้สนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบบันทึกเสียงและบันทึกภาพ 3) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยและสื่ออิเลคทรอนิกส์ และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า วิธีการเลี้ยงแพะ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการปฏิบัติในแต่ละวัน จะต้องทำความสะอาดคอกทุกเช้าและควรสังเกตอาการของแพะ 2) การดูแลพ่อแม่พันธุ์ จะต้องขังพ่อพันธุ์แยกเอาไว้ตัวเดียวเพื่อไม่ให้ผสมตัวเมียในขณะที่เจ้าของไม่อยู่ 3) การดูแลลูกแพะแรกเกิด ให้ลูกแพะดูดนมจากแม่ประมาณ 3 วัน 4) อาหารที่ให้แพะ ควรเป็นพืชที่มีในท้องถิ่น และควรเสริมอาหารสำเร็จรูป และอาหารบำรุง 5) การจับจำหน่ายแพะ เมื่อเลี้ยงได้ 4 ถึง 6 เดือน สภาพปัญหาการเลี้ยงแพะ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการตลาด 2) ด้านโรคระบาด 3) ด้านมลภาวะ 4) ด้านการเข้าถึงพ่อแม่พันธุ์ และ 5) ด้านภาวะขาดทุน และแนวทางส่งเสริมการเลี้ยงแพะ มี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมการตลาด 2) ด้านการให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคระบาด 3) ด้านการจัดการอาหารและยารักษาโรค 4) ด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม 5) ด้านแนวทางส่งเสริมการพัฒนาสายพันธุ์ และ 6) ด้านการส่งเสริมเงินทุน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมปศุสัตว์. (2554). การเลี้ยงแพะ. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2567 จาก https://pvlo-cmi.dld.go.th/Doc/เอกสารเผยแพร่/พันธุ์สัตว์/พันธุ์และการเลี้ยงแพะ.pdf
กิตติ ภูงาม. (2556). เทคนิคการเลี้ยงแพะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
ชูตา แก้วละเอียด. (2558). การพัฒนาการตลาดแพะเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
นชษกร ปภาภูวโรจน์ และคณะ. (2555). ศึกษาโครงสร้างทางสังคมและสภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
นิสากร กล้าณรงค์. (2549). ศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเพื่อการค้าในภาคใต้ : กรณีศึกษาอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ภมรินทร โชคสุทินสกุล และกฤษณพร แพกุล. (2550). ศึกษาสภาพการเลี้ยงแพะของเกษตรกรในจังหวัดกระบี่. วารสารสํานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 8, 8(1), 76-83.
มงคล เทพรัตน์ เเละคณะ. (2553). กลยุทธ์การปรับปรุงพันธุ์แพะของประเทศไทยเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน. แก่นเกษตร, 38(4), 395-408.
วินัย ประลมพ์กาญจน์. (2548). ปัญหา และการพัฒนาการเลี้ยงแพะในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(1), 16-20.
วิพัฒน์ แซ่เฮง และคณะ. (2561). แพะเขาใหญ่: แนวทางส่งเสริมการเลี้ยงแพะในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 1(2), 57-73.
วิราภา สุพรรณพุทธา และคณะ. (2557). ความชุกของปรสิตในระบบทางเดินอาหาร และโรคแท้งติดต่อในสัตว์ . ใน สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วิไลลักษณ์ ชาวอุทัย. (2555). มลภาวะทางอากาศ และทางเสียงจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์. วารสารปศุสัตว์เกษตรศาสตร์, 39(153), 47-53.
สภาเกษตรกรแห่งชาติ. (2550). การเลี้ยงแพะ. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2567 จาก https://www.nfc.or.th/การเลี้ยงแพะ
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). การผลิตและการตลาดแพะเนื้อในพื้นที่ภาคตะวันตก. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2567 จาก https://www.opsmoac.go.th/news-files-432991791872
สุธา โอมณี. (2560). การศึกษารูปแบบการเลี้ยง และวิถีการตลาดแพะเนื้อ กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ในวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุรชน ต่างวิวัฒน์. (2546). การเลี้ยงแพะ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
หนึ่งนุช สายปิ่น. (2551). การผลิตแพะ (Goat Production). กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.