ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วัชรพงศ์ ไม้เท้าทิพย์
ปัทมา รูปสุวรรณกุล
สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปัจจัยกลยุทธ์ทางการตลาด 5A และการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของผู้บริโภคในเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัจจัยกลยุทธ์การตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของผู้บริโภค ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มีค่าความเชื่อมั่น 0.968 (Cronbach’s Alpha) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) สถิติ (t - Test) , (F - Test) และ สถิติในการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 231 คน มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี จำนวน 198 คน จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 179 คน เป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพนาน 10 ปีขึ้นไป จำนวน 161 คน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานเอกชน จำนวน 271 คนมีการตัดสินใจใซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร 2) การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของผู้บริโภคในเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการอยู่อาศัย และอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ3) ปัจจัยกลยุทธ์การตลาด ได้แก่ ด้านการสอบถาม ด้านการตัดสินใจซื้อ และด้านการบอกต่อ มีอิทธิพลทางบวกต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของผู้บริโภคในเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ได้ร้อยละ 52.20 (Adjusted R2 = .522) ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ไม้เท้าทิพย์ ว. ., รูปสุวรรณกุล ป. ., & ศิริวิศิษฐ์กุล ส. . (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 31–42. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7222
บท
บทความวิจัย

References

ณิกา ขันจันทร์. (2563). การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารธุรกิจออนไลน์, 4(1), 78-92.

ธนาคารกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.krungsri.com/th/research

ธิดารัตน์ งามจบวิทยานนท์. (2566). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องฟอก อากาศของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการธุรกิจและเทคโนโลยี, 8(1), 33-47.

ปิยฉัตร ศรีสะอาด. (2565). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการตลาด, 9(4), 21-36.

ปุณิกา ขันจันทร์. (2563). การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลนประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมผู้บริโภคดิจิทัล, 3(2), 65-80.

พุทธธิดา คุ้มลักษณ. (2565). พฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของประชาชนในเขตจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค, 5(3), 45-59.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคและความพึงพอใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเศรษฐกิจและสังคมศึกษา, 5(2), 11-25.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567). สถิติจำนวนประชากร. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://shorturl.asia/a6jQd

สุชาดา ตันบุญเจริญ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการบริหารธุรกิจ, 7(2), 12-28.

อกุสตินา มัลติ ปรโนโม. (2022). ปัจจัยทางสังคมและกิจกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความต่อเนื่องของกลยุทธ์การตลาด 5A. วารสารนานาชาติด้านการตลาดดิจิทัล, 7(2),123-137.

อิทธิพัทธ์ มากทุ่งคา. (2564). อิทธิพลการตลาดแบบ 5A ภาพลักษณ์ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ค่านิยม และทัศนคติของผู้บริโภคส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถมอเตอรไซค์ไฟฟ้าของ ผู้บริโภคในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการและพัฒนาธุรกิจ, 6(3), 50-65.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Ivan, S. (2021). The Impact of Digital Readiness on Transitioning Customers to Digital Channels. DigitalEconomyJournal, 9(1), 76-88.

Kotler, P. (2021). Marketing Management. (15th ed.). Bangkok: Pearson Education, Inc.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Li, H. & Shanyong, W. (2019). Antecedents of Consumers’ Intention to Purchase Energy-Efficient Appliances. Journal of Consumer Behavior, 18(6), 451-467.

Wayan, M. (2021). Differentiation and the Five As Concept in Digital Marketing of SMEs During the COVID-19 Pandemic. Journal of Small Business Strategy, 31(4), 112-126.

Zhiyu, L. & Xu, Z. (2023). Influencing Factor Analysis on Energy-Saving Refrigerator Purchases from the Supply and Demand Sides. Energy Economics Review, 15(3), 203-219.