พืชเสริมรายได้ในสวนยางพารา: ทางเลือกสู่ความยั่งยืนของเกษตรกร ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

เบญจวรรณ คงขน
อภิชญา ขุนทอง
สถิต ทศวิชิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร และต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกรในตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย สาขาเคียนซา จำนวน 66 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบในการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกรฯ เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์ปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และพันธุ์ RRIT 251 ในที่ดินของตนเองและมีเอกสารสิทธิ์ ประเภท สปก.4 - 01 บนพื้นที่ราบเป็นดินเหนียวใช้แหล่งน้ำจากแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ พืชที่นิยมปลูกเสริมมากที่สุดคือ กาแฟและผักเหลียง ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร ได้แก่ 1) กาแฟโรบัสต้า มีต้นทุนรวม 3,223.88 บาทต่อไร่ต่อปี มีผลผลิตเฉลี่ย 79 กิโลกรัมต่อไร่ ขายได้ราคา 110 บาทต่อกิโลกรัม มีผลตอบแทนสุทธิ 5,466.12 บาทต่อไร่ต่อปี หรือ 69.19 บาทต่อกิโลกรัม และ 2) ผักเหลียง มีต้นทุนรวม 3,760.08 บาทต่อไร่ต่อปี มีผลผลิตเฉลี่ย 162 กิโลกรัมต่อไร่ ขายได้ราคา 80 บาทต่อกิโลกรัม มีผลตอบแทนสุทธิ 9,199.92 บาทต่อไร่ต่อปี หรือ 56.73 บาทต่อกิโลกรัม ด้านโครงสร้างต้นทุน ทั้งกาแฟโรบัสต้าและผักเหลียงมีต้นทุนผันแปรเป็นสัดส่วนหลักของต้นทุนรวม ซึ่งค่าแรงงานเป็นต้นทุนสำคัญ

Article Details

How to Cite
คงขน เ. ., ขุนทอง อ. ., & ทศวิชิต ส. . (2025). พืชเสริมรายได้ในสวนยางพารา: ทางเลือกสู่ความยั่งยืนของเกษตรกร ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 43–56. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7223
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร. (2565). รายงานการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ปีการผลิต 2564/2565รายงานการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิ. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กลุ่มสารสนเทศการเกษตร. (2565). ข้อมูลรายสินค้า (ยางพารา) เพื่อการวางแผนการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีปี 2565. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

ฐิตาภรณ์ ภูมิไชย์ และคณะ. (2563). ศึกษาตัวอย่างสวนยางแบบผสมผสานที่ประสบความสำเร็จ. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย.

ธนายุส บุญทอง และคณะ. (2562). ส่องฐานะเศรษฐกิจชาวสวนยางบนเส้นทางที่ท้าทาย: มุมมองก้าวต่อไปของนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย ใน รายงานชุดปรับโครงสร้างภาคเกษตรไทย ส่องฐานะเศรษฐกิจชาวสวนยางบนเส้นทางที่ท้าทาย: มุมมองสู่ก้าวต่อไปของนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

นัดดา รัศมีแพทย์ และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. (2560). การปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกรอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(1), 117-124.

บุญฑริกา ใจกระจ่าง และคณะ. (2564). สถานการณ์ปลูกพืชแซมยางและพืชร่วมยางในสวนยางเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารแก่นเกษตร, 49(1), 642-649.

ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร. (2566). รายงานข้อมูลภาวการณ์ผลิตพืช: ยางพารา. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://production.doae.go.th/service/site/index

ระวี เจียรวิภา. (2562). พืชร่วมในสวนยางพาราทางภาคใต้ของประเทศไทย: ผลกระทบและรูปแบบการปลูกอย่างยั่งยืน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(1), 179-189.

วิทยา พรหมมี. (2564). แนวทางการจัดการสวนยางแบบผสมผสานโดยการปลูกยางร่วมกับพืชชนิดอื่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย.

ศจีรัตน์ แรมลี. (2562). การเสริมรายได้ในสวนยาง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย.

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2564). การปลูกพืชร่วมและเกษตรผสมผสาน: ทางเลือกเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรชาวสวนยาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี, สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). การศึกษารูปแบบการปลูกพืชเสริมในสวนยาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2567. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เสาวณีย์ ชัยเพชร และคณะ. (2564). นวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพโรบัสต้าพันธุ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ปลูกกาแฟเทือกเขาบรรทัด อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. ใน รายงานการวิจัย. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.), สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).

หฤทัย อินยอด. (2563). รูปแบบการจัดการสวนยางพาราแบบวนเกษตรและผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจและสังคม: กรณีศึกษาครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดตรัง. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อภิสิทธิ์ สุวรรณภักดี และรัตนา ไกรนรา. (2564). พืชแซมยาง: ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชนพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยในภาคใต้ครั้งที่ 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ. (2564). โครงการการศึกษาแนวทางการคำนวณต้นทุนการผลิตยางพาราของไทยที่เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

อาทิตยา พองพรหม และคณะ. (2564). การปลูกพืชร่วมและเกษตรผสมผสาน: ทางเลือกเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรชาวสวนยางพารา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.