ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร การทำงานเป็นทีมของครู ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู และเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 26 คน ครู จำนวน 277 คน ของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครู ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 3 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร และการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา คือ ด้านความไว้วางใจ ด้านความเป็นผู้ให้หรือความเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม และด้านความเคารพในปัจเจกบุคคล และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา จำนวน 5 ด้าน 24 ข้อ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกกร ศิริสุข. (2566). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารทัศนมิติทางการศึกษา, 1(2), 47-61.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
เกวลิน เมืองชู. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(3), 76-88.
ขนิษฐ์ณิชา ทองสุข. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์มหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย และสุชาติ บางวิเศษ. (2563). การจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรเศวร.
เนาวรัตน์ รอดเพียน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร.
พุทธพงศ์ หลักคำ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ็ญศิริ สมเรือน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภานุวัต รักผึ้ง. (2567). การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารชมรมบัณฑิตศิลป์, 2(2), 38-46.
วิภาวดี อินทร์ด้วง. (2561). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน สารนิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. นครศรีธรรมราช: สพป.นศ.4.
เอกชัย ลวดคำ และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 28(1), 13-24.
เอมอร บุญพิโย. (2561). การทำงานเป็นทีมของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารชมรมบัณฑิตศิลป์, 11(4), 83-94.
Brown, M. et al. (2005). Ethical Leadership: A Socail Learning Perspective for Construct Development and Testing. Organizational behavior and Human Decision Processes, 97(2), 117-134.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Pearson, K. (1895). Note on regression and inheritance in the case of two parents. Proceedings of the Royal Society of London, 58(347-352), 240-242.