ระบบการให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานขององค์การ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะระบบค่าตอบแทนขององค์การในสหรัฐอเมริกาแนวทางประยุกต์ใช้กับประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นลักษณะระบบค่าตอบแทนขององค์การในสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยพบว่าลักษณะระบบค่าตอบแทนขององค์การในสหรัฐอเมริกานำประยุกต์ใช้กับประเทศไทย 1) ผลประโยชน์ที่บังคับโดยกฎหมาย ได้แก่ ผลประโยชน์ส่วนบุคคล (เงินเดือน ค่าตอบแทนพิเศษ เงินโบนัสประจำปี ประกันสังคม) 2) ผลประโยชน์ตามดุลพินิจ ได้แก่ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ( ความก้าวหน้าในสายอาชีพ ความภาคภูมิใจในงาน การพัฒนาทักษะต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน) เป็นแรงจูงใจในการทำงานและมีผลต่อการปฏิบัติงาน และยังพบว่าลักษณะระบบค่าตอบแทนขององค์การในสหรัฐอเมริกานำประยุกต์ใช้กับประเทศไทย เป็นที่สังเกตว่ามีเกิดความซ้ำซ้อน ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างงานกับค่าตอบแทนที่ได้รับ เช่น ปริมาณงานมีมากกว่าอัตรากำลัง อีกทั้งโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังไม่เอื้อต่อการเติบโตในการปฏิบัติงาน ข้อเสนอเพิ่มเติม พนักงานเดิมที่มีการจ้างงานอยู่แล้ว ควรพิจารณาปรับฐานเงินเดือนใหม่ ตามผลการปฏิบัติงาน การปรับสวัสดิการเพิ่มให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ดัชนีผู้บริโภค การปรับโครงสร้างเงินเดือนตามคุณค่าของงาน การพิจารณาจากลักษณะงานที่พนักงานรับผิดชอบ ทักษะที่ใช้ในการทำงาน ความยากง่ายของงาน การฝึกอบรมพัฒนาให้กับพนักงานตามความต้องการ ปรับโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในการเติบโตตามความก้าวหน้าในสายอาชีพ พร้อมทั้งยกย่องผู้ที่ปฏิบัติงานได้ดีเด่นหรือดีเยี่ยม ส่วนลักษณะระบบค่าตอบแทนในสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างอย่างมากกับประเทศไทยตรงมีความสลับซับซ้อนและครอบคลุมอย่างมาก แต่ในเรื่องระบบค่าตอบแทนสามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานได้อย่างเต็มที่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วรรณวิชนี ถนอมชาติ. (2562). การบริหารค่าตอบแทนจูงใจสำหรับอาจารย์ต่างช่วงอายุในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิภาดา ปัตถนานนท์. (2544). การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนในระบบเปิดของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ศึกษาเฉพาะกรณี : สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร พิศาลบุตร. (2562). การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Bernardin, H. J. et al. (2013). Human Resource Management. New York: McGraw-Hill Education.
Decarlo, S. (2005). Special Report: CEO Compensation. Forbes. Retrieved September 10, 2024, from http://www. Forbes.com/2005/ceoland
Dessler, G. (2013). Human Resource Management. Edinburgh Gate. Harlow: Pearson Education Limited.
Gómez, P. J. et al. (2007). Organizational learning and compensation strategies: Evidence from the Spanish chemical industry. Global Business and Organizational Excellence, 26(3), 51-72.
Martocchio, J. J. (2011). Strategic Compensation. Upper Saddle River. New Jersey: Prentice Hall.
Mondy, R. (2010). Human Resource Management. Boston: Prentice Hall.
Ryne, S. L. et al. (2004). The importance of pay in employee motivation. Human Resource Management, 43(4), 381-394.