การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมทางการบริหารเพื่อยกระดับสถานศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ คงสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และรูปแบบการบริหาร 2) สร้างและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมทางการบริหารเพื่อยกระดับสถานศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมทางการบริหารเพื่อยกระดับสถานศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก จังหวัด สุราษฎร์ธานี รูปแบบการวิจัยและพัฒนา เชิงปฏิบัติการ ได้แก่ ขั้นที่ 1 สถานการณ์ปัจจุบันและพึงประสงค์ ใช้แบบสอบถาม เลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการ 2) ครู 3) นักเรียน 4) บุคลากร และ 5) ผู้ปกครอง ทั้งหมด 30 คน วิเคราะห์สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และรูปแบบการบริหาร สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการ 2) ครู 3) บุคลากร และ 4) ผู้ปกครอง ทั้งหมด 10 คน ขั้นที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบ สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการ 2) ครู 3) บุคลากร และ 4) นักวิชาการ ทั้งหมด 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และขั้นที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบ เลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการ 2) ครู 3) บุคลากร 4) ผู้ปกครอง และ 5) นักวิชาการ ทั้งหมด 15 คน วิเคราะห์สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ภาพรวมอยู่ระดับมาก (equation = 3.79, S.D. = 0.54) สภาพพึงประสงค์ ระดับมากที่สุด (equation = 4.86, S.D. = 0.42) และรูปแบบการบริหาร ได้แก่ การบริหารที่มีต่อความสำเร็จและความก้าวหน้าสถานศึกษาและการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ผู้เรียน 2) ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหาร ภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด (equation = 4.62, S.D. = 0.74) และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมในกระบวนการ ความเป็นไปได้ ครอบคลุม และมีประโยชน์ อยู่ระดับมากที่สุด (equation = 4.69, S.D. = 0.54)

Article Details

How to Cite
คงสุวรรณ ส. . (2025). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมทางการบริหารเพื่อยกระดับสถานศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 1–13. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7551
บท
บทความวิจัย

References

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ หน้า 18 - 20 (20 มีนาคม 2562).

ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการสถานศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2560). พื้นฐานการจัดการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร. (2567). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(1), 91-113.

มนต์นภัส มโนการณ์. (2561). การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1), 1-15.

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก. (2567). ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก. สุราษฎร์ธานี: ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการดําเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 193-213.

สุบรรณ ลาสา และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(2), 120-132.

อัจฉรา นิยมาภา. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ศักยภาพผู้บริหารยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: วิสต้า อินเตอร์ ปริ้นท์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M., Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.