การขับเคลื่อนแนวคิดประชาธิปไตยภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์
ณิชาภัทร์ มูลสภา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การขับเคลื่อนแนวคิดประชาธิปไตยภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ผ่านกลุ่มนิสิต นักศึกษา นักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการค้นหาข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสัมภาษณ์แบบเป็นกลุ่มและการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 5 คน นักกฎหมาย จำนวน 5 คน และกลุ่มนิสิต นักศึกษา นักกิจกรรม จำนวน 30 คน วิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลตามเนื้อหา (Content Analysis) สังเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนแนวคิดประชาธิปไตยภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน มีปัจจัยสภาพเศรษฐกิจขัดขวางการขับเคลื่อนความเป็นประชาธิปไตยอย่างเหนียวแน่น ความซับซ้อนของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยที่ยังไม่สมบูรณ์ การปรับวัฒนธรรมของสังคมที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับอุดมการณ์และกลไกของประชาธิปไตย การยอมเสียสละประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก การใช้สิทธิเสรีภาพอย่างมีขอบเขตไม่ก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น การยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง การส่งเสริมการขับเคลื่อนทางความคิดมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนคือการที่ประชาชนมีอำนาจเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่ปกครองเพื่อประโยชน์ของประชาชนและมีอำนาจในการตรวจสอบ และถอดถอน หากพบว่า ผู้แทนที่ตนเองเลือกเข้าไปทำหน้าที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต การพัฒนาแนวคิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชาธิปไตยคือหลักธรรมต้องขับเคลื่อนทางความคิดในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย มี 5 ประการ คือ หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคล ความเสมอภาค หลักกฎหมาย และการปกครองจากการเลือกตั้ง

Article Details

How to Cite
พัวพรพงษ์ พ. ., & มูลสภา ณ. . (2025). การขับเคลื่อนแนวคิดประชาธิปไตยภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 14–25. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7552
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2550). พัฒนาการการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

เชษฐา ทองยิ่ง. (2564). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพมหานคร: พิพิทธภัณฑ์รัฐสภา.

ถาปกรณ์ กำเนิดศิริ. (2564). อำนาจอธิปไตย. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34856

ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล. (2555). สารัตถะประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วศิระ จำกัด.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2475). การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

นฤดม แป้นเจริญ. (2568). อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนกับการเมืองภาคประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรัฐธรรมนูญ.

ประเวศ วะสี. (2561). (ปฏิรูปประเทศไทย) ปฏิรูปมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2566). ดุสิตโพลเผยคนไทยตระหนักรู้พฤติกรรมประชาธิปไตยมากขึ้น. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2568 จาก https://www.thaipost.net/politics-news/403167/

สุพัตรา จิตตเสถียร. (2563). การแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย: พบทางตันจริงหรือ?. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 8(1), 28-37.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ: เตรียมคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิด - 19. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

เสกสรร ประเสริฐกุล. (2557). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ วิภาษา.

โอกาส เตพละกล. (2565). การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Almond, G. A. & Verba, S. (1965). The civic culture: Political Altitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little Brown.