การพัฒนากลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา

Main Article Content

ธีรพร ทองขะโชค
ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งพัฒนากลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา จังหวัดสตูล โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาในพื้นที่ชุมชนปากบารา 3 หมู่บ้าน ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้มีประสบการณ์ด้านการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกภาคสนาม การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยหาค่าความเที่ยงตรงในเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาโดยจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นสำคัญและสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เหมาะกับตลาดกลุ่มเล็กเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ โดยกลยุทธ์การตลาดใช้ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ 1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ เน้นพัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวที่เน้นการเรียนรู้และมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความแตกต่าง 2) กลยุทธ์ด้านราคา เน้นกำหนดราคาตามคุณค่าการรับรู้ และความยืดหยุ่นของดีมานด์ พร้อมมาตรการควบคุมราคาและส่วนลดตามฤดูกาล ปริมาณ และเงินสด 3) กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ช่องทางจัดจำหน่ายเดิม ทั้งช่องทางตรงผ่าน 14 วิสาหกิจชุมชน และช่องทางคนกลางด้วยการใช้ดิจิตอลแพลตฟอร์ม และ 4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด ใช้การสื่อสารแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เน้นโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย การขายโดยบุคคล และการตลาดแบบปากต่อปาก สร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวและกระตุ้นการบอกต่อผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล กลยุทธ์การตลาดจากการวิจัยนี้สามารถเพิ่มโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบาราให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา

Article Details

How to Cite
ทองขะโชค ธ. ., & จันทร์อานุภาพ ศ. . (2025). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 73–88. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7557
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.dot.go.th/news/internal-audit-plan/detail/3052/8

เจ้าหน้าที่ภาครัฐคนที่ 3. (15 ต.ค. 2564). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา. (ธีรพร ทองขะโชค, ผู้สัมภาษณ์)

ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ณรงค์ พลีรักษ์ และคณะ. (2559). โครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวบูรพาทิศ. ชลบุรี: คณะภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดนุวัศ สุวรรณวงศ์. (2564). แนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูลเพื่อยกระดับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสตูลภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 261-273.

ตรีฤกษ์ เพชรมนต์ และคณะ. (2564). กลยุทธ์ด้านการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย: กรณีศึกษา ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(3), 85-100.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2567). Future of tourism รับมือการเปลี่ยนผ่านสู่การเติบโตอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 26 มีนาคม 2568 จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/article-2024nov12.html

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2562). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้วที่ 5). นนทบุรี: หจก. เฟริ้นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ปฏิพัทธ์ ตันมิ่ง และคณะ. (2567). แนวทางการส่งเสริมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัด เชียงราย. วารสารวิชาการการบินการเดินทางและการบริการ, 3(2), 26-47.

ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร และสมจิตร อินทนนท์. (2562). กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปิยวรรณ แสงสุขขา และศรัณยา เลิศพุทธรักษ์. (2564). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด สำหรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมจากประเทศอาเซียนในเขตภาคใต้ตอนบน. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 1-18.

ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว คนที่ 3. (2 ก.ย. 2564). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา. (ธีรพร ทองขะโชค, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว คนที่ 5. (2 ก.ย. 2564). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา. (ธีรพร ทองขะโชค, ผู้สัมภาษณ์)

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2564). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาสำหรับการท่องเที่ยวหลังโควิด - 19. กรุงเทพมหานคร: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.

สมาชิกของเครือข่ายท่องเที่ยวอ่าวปากบารา คนที่ 10. (2 ต.ค. 2564). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา. (ธีรพร ทองขะโชค, ผู้สัมภาษณ์)

สมาชิกของเครือข่ายท่องเที่ยวอ่าวปากบารา คนที่ 6. (2 ต.ค. 2564). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนปากบารา. (ธีรพร ทองขะโชค, ผู้สัมภาษณ์)

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวรายไตรมาส. ฉบับที่ 7 (มกราคม - มีนาคม 2560). เรียกใช้เมื่อ 31 มกราคม 2568 จาก https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/21563/21298.pdf

สุทธิพร บุญมาก. (2560). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Ansoff, H. I. (1987). The emerging paradigm of strategic behavior. Strategic Management Journal, 8(6), 501-515.

Creswell, J. W. & Clark, V. L. P. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. (2nd ed.). California: SAGE Publications Inc.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2016). Principles of Marketing. (16th ed.). Harlow: Pearson Education Limited.

UNESCO. (2006). Towards sustainable strategies for creative tourism. Retrieved February 3, 2025, from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000159811/PDF/159811eng.pdf.multi