การสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่สะท้อนผ่านไวรัลคลิปในประเทศไทย

Main Article Content

เอนกพงศ์ พงษ์มี
กฤษณ์ ทองเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแก่นประเด็นเนื้อหา ภาพลักษณ์ และวิธีนำเสนอเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ การสื่อสารสุขภาพ โรคซึมเศร้า ระบบนิเวศ ภาพลักษณ์ สื่อดิจิทัล หน้าที่สื่อมวลชน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Thematic Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งประกอบด้วยแหล่งข้อมูลดังนี้ ไวรัลคลิป จำนวน 25 เรื่อง และนักวิชาการด้านสื่อ นักจิตวิทยา จำนวน 8 ท่าน ทำการคัดแยกเนื้อหาผ่านแบบคัดแยกเนื้อหา และแบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาไวรัลคลิป ใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลวิจัยดังนี้ แก่นประเด็นเนื้อหาของโรคซึมเศร้าที่สะท้อนผ่านไวรัลคลิป พบแก่นประเด็นเนื้อหา 3 ประเด็น ได้แก่ 1) สาเหตุของโรคซึมเศร้า 2) อาการโรคซึมเศร้า 3) การรักษาโรคซึมเศร้า ด้านภาพลักษณ์ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ประกอบด้วย 1) ภาพลักษณ์ที่ถูกรังแกจากสมาชิกในสังคม 2) ภาพลักษณ์ผู้ที่มีความจำเป็นต้องมีผู้อภิบาล 3) ภาพลักษณ์ผู้ที่มีความเป็นผู้แปลกแยกทางสังคม และ 4) ภาพลักษณ์ของผู้ที่เป็นผู้พึ่งพาเทคโนโลยีสื่อสังคมในระดับสูง ด้านวิธีการสร้างสรรค์เนื้อหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ควรนำเสนอเนื้อหาดังนี้ 1) นำเสนอเนื้อหาตามความจริง 2) เนื้อเรื่องให้เกิดการฉุกคิดตาม 3) เนื้อหาให้ทันต่อกระแสสังคม 4) การเล่าเรื่องจากผู้มีประสบการณ์ร่วม 5) การสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ชม และ 6) การใช้สีสันสดใส เนื้อหาที่ไม่ควรเผยแพร่ผ่านไวรัลคลิปมีดังนี้ 1) เนื้อหาที่เป็นสาเหตุของการเกิดความรู้สึกเชิงลบ และ 2) เนื้อหาให้เกิดความน่ากลัว ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปปรับใช้ในการออกแบบเพื่อทำไวรัลคลิปที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในอนาคต

Article Details

How to Cite
พงษ์มี เ. ., & ทองเลิศ ก. . (2025). การสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่สะท้อนผ่านไวรัลคลิปในประเทศไทย. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 89–101. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7558
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2565). การสื่อสารสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Communication). เรียกใช้เมื่อ 4 เมษายน 2566 จาก https://touchpoint.in.th/digital-health-communication/

กาญจนพันธ์ มีสุวรรณ. (3 ธ.ค. 2567). การสร้างเนื้อหาเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ชม. (อเนกพงศ์ พงษ์มี, ผู้สัมภาษณ์)

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยชุมพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ไทยรัฐโพล. (2566). 10 อันดับกิจกรรม และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย 2566. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2722450#

นฤบดี จันทรส. (5 ธ.ค. 2567). การนำเสนอเนื้อหาตามความเป็นจริงที่ ถูกต้องและรอบด้าน. (เอนกพงศ์ พงษ์มี, ผู้สัมภาษณ์)

พิชาภพ บุญเลิศ. (30 พ.ย. 2567ก). การนำเสนอสาเหตุของการก่อให้เกิดความรู้สึกเชิงลบผ่านไวรัลคลิป. (เอนกพงศ์ พงษ์มี, ผู้สัมภาษณ์)

พิชาภพ บุญเลิศ. (30 พ.ย. 2567ข). การสร้างจุดฉุกคิดตามของเนื้อเรื่อง. (เอนกพงศ์ พงษ์มี, ผู้สัมภาษณ์)

พิมพ์พิชชาภัสณ์ วิเศษศรี. (15 ธ.ค. 2567). การสร้างเนื้อหาทันต่อกระแสสังคม. (เอนกพงศ์ พงษ์มี, ผู้สัมภาษณ์)

ไพโรจน์ วิไลนุช. (8 ธ.ค. 2567ก). การใช้โทนสีสดใส เพื่อสร้างสรรค์ไวรัลคลิป. (เอนกพงศ์ พงษ์มี, ผู้สัมภาษณ์)

ไพโรจน์ วิไลนุช. (8 ธ.ค. 2567ข). การสร้างบรรยากาศและนำเสนอเนื้อหาความน่ากลัว. (เอนกพงศ์ พงษ์มี, ผู้สัมภาษณ์)

มาโนช หล่อตระกูล. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิสิฐ ตั้งสถิตกุล. (10 ธ.ค. 2567). การเล่าเรื่องผ่านผู้มีประสบการณ์ร่วมที่เคยผ่านการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า. (เอนกพงศ์ พงษ์มี, ผู้สัมภาษณ์)

สุดปฐพี เวียงสี. (2565). 5 Effective Digital Communication. เรียกใช้เมื่อ 3 เมษายน 2566 จาก https://www.blockdit.com/posts/61da88da97923acc2a3e6244

อูก้า. (2566). ติดโซเชียลมีเดีย สัญญาณเสี่ยงโรคเครียด โรคซึมเศร้า, การป้องกัน หรือลดความเสี่ยง. เรียกใช้เมื่อ 23 มีนาคม 2567 จาก https://ooca.co/blog/social-media-addiction/

เอฟโฟกัส. (2567). ปี 67 พบคนไทยเสี่ยงซึมเศร้า 17.20% เครียดสูง 15.48% ยกเคส "เภสัชกร" เผชิญ ความกดดัน. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2568 จาก https://www.hfocus.org/content/2024/11/32116

Downer, S. R. et al. (2006). SMS text messaging improves outpatient attendance. Australian Health Review, 30(2006), 389-396.

Hinshaw, S. P. (2007). The mark of shame: Stigma of mental illness and an agenda for change. USA: Oxford University Press.

Huiming, W. (2022). Depression and its Effect on Families: How to Portray Young People with Depression in Film. Retrieved March 30, 2024, from https://etheses.whiterose.ac.uk/id/eprint/31982/

Malhi, G. S. & Mann, J. J. (2018). Depression. The Lancet, 392(10161), 2299-2312.

Schulz, R. & Sherwood, P. R. (2008). Physical and mental health effects of family caregiving. American Journal of Nursing, 108(2008), 23-27.

Williams, S. & Galliher, R. V. (2006). Predicting depression and self-esteem from social connectedness, support, and competence. Journal of Social and Clinical Psychology, 25(2006), 855-874.