การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์องค์กรที่ยั่งยืนและการตัดสินใจ ใช้บริการสถานีน้ำมันของผู้บริโภค

Main Article Content

วัชราวุธฒ์ มณฑา
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว
ภานนท์ คุ้มสุภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์องค์กรที่ยั่งยืนและการตัดสินใจใช้บริการสถานีน้ำมัน และอิทธิพลของการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของธุรกิจน้ำมันและภาพลักษณ์องค์กรที่ยั่งยืนของกลุ่มองค์กรธุรกิจน้ำมันต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีน้ำมัน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่ใช้รถซึ่งมีการจดทะเบียนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่เคยใช้บริการสถานีน้ำมันของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ได้แก่ 1) PTTOR 2) BCP 3) PTG และได้ใช้สูตรคำนวณทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง รวมจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสถิติถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ มี 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31 - 40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 - 30,000 บาท 2) การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3) การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรที่ยั่งยืนฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 4) การตัดสินใจใช้บริการสถานีน้ำมันของผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ฯ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอิทธิพลของการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจน้ำมันฯ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของสถานีน้ำมัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากที่สุด

Article Details

How to Cite
มณฑา ว. ., ศศิธนากรแก้ว ศ. ., & คุ้มสุภา ภ. (2025). การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์องค์กรที่ยั่งยืนและการตัดสินใจ ใช้บริการสถานีน้ำมันของผู้บริโภค. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 127–139. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7561
บท
บทความวิจัย

References

วิจารย์ สิมาฉายา. (2566). จับตาสิ่งแวดล้อมโลก และสิ่งแวดล้อมไทย ปี 2566. เรียกใช้เมื่อ 5 มกราคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/environment/1046342

วิรัช ลถิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภณัฐ รัตนเสรีวงศ์. (2559). การเปิดรับสื่อโฆษณาเกมกับพฤติกรรมการตัดสินใจเล่นเกมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2568 จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2886

เสรี วงษ์มณฑา. (2554). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Andrej, M. (2015). Changes in purchasing decision-making process of consumers in the digital era. European Journal of Science and Theology, 10(01), 121-129.

Bag, S. & Pretorius, J. (2022). Relationships between industry 4.0 sustainable manufacturing and circular economy proposal of a research framework International Journal of Organizational Analysis. International Journal of Organizational Analysis, 30(4), 864-898.

Bedraoui, O. (2019). Social media made me buy it the impact of social media on consumer purchase behavior. Innovations in Smart Cities Applications, 38(3), 230-243.

Bilgin, Y. (2018). The Effect of Social Media Marketing Activities on Brand Awareness, Brand Image and Brand Loyalty. Business & Management Studies, 6(1), 128-148.

Cronbach, L. (1990). Construct validity in psychological tests. Psychological Bulletin, 52(4), 281-302.

LeBlanc, G. & Nguyen, N. (1996). Cues used by customers evaluating corporate image in service firms, and empirical study in financial institutions. International Journal of Service Industry Management, 7(2), 44-56.

Maclnnis, P. (1990). An Exploratory Study of the Effects of Imagery Processing and Consumer Experience on Expectations and Satisfaction. Journal of Consumer Research, 41(1), 92-473.

Methaq, A. S. (2016). An Investigation of Corporate Image Effect on WOM: The Role of Customer Satisfaction and Trust. International Journal of Business Administration, 7(3), 27-350.

Naeem, M. (2022). The impact of ESG practices on firm performance Evidence from emerging countries. Indian Journal of Economics and Business, 15(2), 2-208.

Solomon, M. (2009). Consumer behavior: Buying, having, and being. (8th ed.). New Jersey: Prentice Hall.