การประเมินผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน กรณีศึกษา กลุ่มโคเนื้อช่องเขต ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

ชีวนันท์ คุณพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลการดำเนินงานการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน กรณีศึกษากลุ่มโคเนื้อช่องเขต ตำบล ตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรที่มีความเชื่อมโยงหรือเป็นสมาชิกกลุ่มโคเนื้อช่องเขต จังหวัดปัตตานี ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 18 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ของกลุ่มโคเนื้อช่องเขต จังหวัดปัตตานี จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบสังเกต และแบบประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่ามิว (Mu) (µ) และค่าซิกม่า (Sigma) (σ) วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผลการดำเนินงานการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน การดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเนื้อโคจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) เนื้อสเต็ก 2) เนื้อสไลด์ 3) แหนมเนื้อ และ 4) เนื้อเสียบไม้ นอกจากนี้ มีการพัฒนาตัวบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ โลโก้กลุ่ม ออกแบบตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อออกจำหน่าย อีกทั้งกลุ่มโคเนื้อช่องเขตได้กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และจัดฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรในชุมชนที่มีความสนใจ ผลการประเมินโครงการจากการประมวลผลโดยใช้ CIPP Model ภาพรวมประสบความสำเร็จอยู่ในระดับดี โดยผลลัพธ์ของการดำเนินงานในแต่ละด้าน ด้านผลที่ได้รับอยู่ในระดับดีมาก ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับดีมาก ด้านบริบทอยู่ในระดับดี และด้านกระบวนการอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
คุณพิทักษ์ ช. . (2025). การประเมินผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน กรณีศึกษา กลุ่มโคเนื้อช่องเขต ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 169–181. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7564
บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. (2564). ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2567 จาก https://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/355-report-thailand-livestock/animal-book/1670-2564

จันทนี ธีรเวชเจริญชัย. (2560). การพัฒนาการถนอมและแปรรูปอาหารสู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(1), 55-70.

ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ และเถลิงศักดิ์ อังกุรเศรณี. (2551). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง สมรรถภาพการผลิตและลักษณะซากโคพื้นเมือง ภาคใต้ภายใต้ระบบการเลี้ยงแบบปล่อยใน จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิตยาภรณ์ นิพัทธ์ศานต์ และคณะ. (2563). การประเมินโครงการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ กลุ่มเกษตรกรบ้านโรงวัว ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร, 48(1), 79-92.

ปิยพร เศรษฐศิริไพบูลย์. (2564). โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร.

พรเพ็ญ ประกอบกิจ และวทัญญู หมัดชูโชติ. (2566). การประเมินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) : กรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนสงขลา. วารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้, 3(2), 63-74.

พิริยาพร สุวรรณไตรย์ และชัยวิวัฒน์ วงศ์สวัสดิ์. (2564). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพร้อมบริโภค: กรณีศึกษา บ้านผาสุก ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(2), 213-222.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2564). ข้อเสนอโครงการประเมินผลการดําเนินงานและผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ ภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Laxmi. (2021). Converting percentage to GPA out of 10. Retrieved February 20, 2025, from https://www.learncram.com/calculator/converting-percentage-to-gpa-out-of-10/

Stufflebeam, D. L. (1983). The CIPP Model for Program Evaluation. In F. S. Madaus, Evaluation Models: Viewpoints on Educational and Human Services Evaluation V (pp. 117 - 141). Norwell: Kluwer.