ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนถิ่นถ่านหินของเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

เบญจวรรณ คงขน
กัลย์สุดา แก้วแสน
ดาริน รุ่งกลิ่น
มลทิรา เพชรรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฯ และแนวทางการปรับเปลี่ยนแนวคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนถิ่นถ่านหิน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 110 คน คำนวณกลุ่มตัวอ่างด้วยโปรแกรม G*Power เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฯ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 41 - 50 ปี มีประสบการณ์ปลูกทุเรียน 1 - 2 ปี ใช้เงินทุนและที่ดินส่วนตัว ปลูกบนพื้นที่ราบดินร่วนไม่เกิน 10 ไร่ ใช้ระบบน้ำสปริงเกอร์ และได้รับรองมาตรฐาน GAP และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ มี 3 ด้าน ได้แก่ สถานที่ การส่งเสริมการตลาด และราคา มีอิทธิพลทางบวกต่อจุดแข็งและจุดอ่อนของการตัดสินใจปลูกทุเรียนถิ่นถ่านหิน ได้ร้อยละ 78.10 (R² = 0.781) และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสถานที่ และด้านราคา มีอิทธิพลทางบวกต่ออุปสรรคและข้อจำกัดของการตัดสินใจเลือกปลูกทุเรียนถิ่นถ่านหิน ได้ร้อยละ 72.50 (R² = 0.725) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) แนวทางการปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนถิ่นถ่าน หิน มี 6 ด้าน ได้แก่ 1) การผลิต 2) การตลาด 3) การรวมกลุ่มและการจัดการ 4) การถ่ายทอดความรู้และการสืบทอดกิจการ 5) การสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 6) ความยั่งยืน

Article Details

How to Cite
คงขน เ. ., แก้วแสน ก. ., รุ่งกลิ่น ด. ., & เพชรรัตน์ ม. . (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนถิ่นถ่านหินของเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 182–194. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7565
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา. (2566). การพัฒนาและส่งเสริมเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่มตามยุทธศษสตร์ชาติ: กรณีศึกษาสินค้าทุเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

จันจิรา ศักดิ์ศรี และสปัณธ์หยก วีรบุญย์กฤช. (2564). ห่วงโซ่คุณค่าและแนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแลที่ได้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(2), 40-60.

จารุณี พงษ์พิยเดช และคณะ. (2563). การจัดการการผลิตทุเรียนเพื่อทดแทนพืชไร่ของเกษตรกรในตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 9(1), 112-133.

ธนกฤต นิ่มกาญจนา และคณะ. (2565). การศึกษารูปแบบการปลูกทุเรียนของเกษตรกร อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วิทยาศาสตร์และการจัดการ, 5(3), 16-26.

นภัสวรรณ มีนาพระ. (2565). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองในภาคใต้. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 40(1), 89-98.

ประพันธ์ แสงทอง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและพัฒนาการเกษตร, 16(3), 145-158.

ประเสริฐ บัวทอง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกร ในตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์ชนก วอนขอพร. (2564). แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในการผลิตทุเรียนคุณภาพ. วารสารส่งเสริมการเกษตร, 15(1), 45-58.

ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร. (2566). รายงานข้อมูลภาวการณ์ผลิตพืช: ทุเรียน. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วรรณา สิทธิวรการ. (2563). กลยุทธ์การตลาดสำหรับสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น. วารสารบริหารธุรกิจเกษตร, 7(2), 89-102.

ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). กรมส่งเสริมการเกษตรหนุนยกระดับทุเรียนถิ่นถ่านหินเคียนซาเป็นสินค้า GI. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://doaenews.doae.go.th/archives/18977

สถาบันวิจัยพืชสวน. (2567). การจัดการทุเรียนพื่อการส่งออกตลอดห่วงโซ่อุปทาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.

สมศักดิ์ อภิสิทธิวาณิช และวรางคณา อดิศรประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 40(3), 413-422.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2564). รายสินค้า (ทุเรียน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6. (2564). แนวทางการพัฒนาทุเรียนปราจีน จังหวัดปราจีนบุรี ที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. เอกสารวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เลขที่ 122 กันยายน 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8. (2563). การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนภาคใต้ตอนบนในยุคเกษตร 4.0. เอกสารวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เลขที่ 106 กุมภาพันธ์ 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2567. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สุชาดา ม่วงศรี. (2562). เรื่องเล่าวิถีชีวิตชาวสวนทุเรียนในตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรเชษฐ์ ศรีภูริรักษ์ และคณะ. (2566). ยกระดับทุเรียนใต้ด้วยเทคโนโลยีและเกษตรยุคใหม่. สงขลา: สำนักงานภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย.