การพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองโดยใช้โปรแกรมการเสริมสร้างการเห็นคุณค่า ในตนเองร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มของนักเรียนกรณีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่าไทร (ดิตถานุเคราะห์)

Main Article Content

บัณฑิตา วงศ์ขาว
พุทธชาด วูโอริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม วิจัยนี้เป็นประเภทกึ่งทดลอง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีพฤติกรรมภายในห้องเรียนไม่มั่นใจในความคิดของตนเอง มีความคิดว่าตนเองไร้ตัวตนในโรงเรียน จำนวน 3 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดท่าไทร(ดิตถานุเคราะห์) ซึ่งได้เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จากการสังเกตโดยครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม โดยมีค่าการประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 2) แบบวัดความเห็นคุณค่าในตนเอง จำนวน 10 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องภาพรวมเท่ากับ 0.87 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการให้คำปรึกษารายบุคคล จำนวน 10 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องภาพรวมเท่ากับ 1.00 โดยมีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือทั้ง 3 เครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มมีระดับสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.70, S.D. = 0.40)

Article Details

How to Cite
วงศ์ขาว บ. ., & วูโอริ พ. . (2025). การพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองโดยใช้โปรแกรมการเสริมสร้างการเห็นคุณค่า ในตนเองร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มของนักเรียนกรณีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่าไทร (ดิตถานุเคราะห์). วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 211–222. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7612
บท
บทความวิจัย

References

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2559). Self-esteem–การเห็นคุณค่าในตนเอง. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2568 จาก https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/self-esteem/

ฐาปน์ ตั้งจิตภักดีกุล. (2545). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในเองและความรู้สึกสิ้นหวังในเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 33(1), 43-54.

ทินกร วงศ์ปการันย์ และณหทัย วงศ์ปการันย์. (2554). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์ก: การศึกษาในนักศึกษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(1), 59-70.

เทิดศักดิ์ เดชคง. (2567). แนวทางการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

พระมหาถาวรถาวโร. (2564). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 6(2), 61–68.

ภรภัค วงศ์อรุณ. (2564). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมธีณี คำบันลือ. (2564). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านช่องแคบ จังหวัดตาก. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยูนิเซฟ. (2564). ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้โควิด-19 ส่งผลให้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2568 จาก https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases

หงษ์ฟ้า ธีรวงศ์นุกูล. (2556). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมสำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Coopersmith, S. (1981). The Antecedents of Self-Esteem. San Francisco: W.H. Freeman and Company.

Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370-396.

Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton, NJ: Princeton University Press.