การอนุรักษ์พัฒนาและต่อยอดการสวดพระมาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พงศธร ศรีใย
ธีรวัฒน์ ช่างสาน
สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและสภาพปัจจุบันของการสวดพระมาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์พัฒนาและพัฒนาองค์ความรู้สวดพระมาลัย ฯ และ 3) ส่งเสริมการเรียนรู้บทสวดพระมาลัยในรูปแบบสื่อสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 โรงเรียน สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สื่อสร้างสรรค์ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึก เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า บริบทและสภาพปัจจุบันของสวดพระมาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีประวัติการสวดพระมาลัย โดยคณะแม่วันดี มีต้นกำเนิดจากการรวมตัวของชาวบ้านที่มีความสามารถด้านการขับร้อง ดนตรี เริ่มต้นจากกลุ่มของบิดาของนางวันดี และสืบทอดโดยนางวันดี จันทร์จำรัส ปัจจุบันมีสมาชิกเพียง 5 คน การสวดพระมาลัยของคณะแม่วันดี ประกอบด้วยบทสวด ผู้แสดง เครื่องดนตรี ท่าทางประกอบการแสดง เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบการแสดง ปัจจุบันบทสวดที่นิยมใช้มี 24 บทจากทั้งหมดกว่า 70 บท แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาการสวดพระมาลัยฯ มีดังนี้ 1) รวบรวมองค์ความรู้การสวดพระมาลัยของคณะแม่วันดี 2) ทำการบันทึกภาพเคลื่อนไหวการสวดพระมาลัยขณะทำการแสดง และ 3) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การสวดพระมาลัยคณะแม่วันดี การส่งเสริมการเรียนรู้บทสวดพระมาลัยในรูปแบบสื่อสร้างสรรค์ โดยจัดทำเป็น QR Code สอดแทรกอยู่ในหัวข้อองค์ประกอบของการสวดพระมาลัย ซึ่งสื่อสร้างสรรค์จัดเป็นกลไกใหม่ในการพัฒนาการเรียนรู้การนำสื่อสร้างสรรค์

Article Details

How to Cite
ศรีใย พ. ., ช่างสาน ธ. ., & เงินถาวร ส. ช. . (2025). การอนุรักษ์พัฒนาและต่อยอดการสวดพระมาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(4), 307–317. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7640
บท
บทความวิจัย

References

นวลน้อย ดำรงค์สุข. (2561ก). การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(2), 112-125.

__________. (2561ข). "การสืบสานวัฒนธรรมผ่านสื่อร่วมสมัยในภาคใต้". วารสารศิลปวัฒนธรรมไทย, 13(1), 45-56.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2545). คิดอย่างนิธิ 2: ประวัติศาสตร์แห่งการแสวงหา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ปรีชา พิณทอง. (2538). วัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์วัฒนธรรม.

พรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2546). พระมาลัย: ธรรมะที่มีชีวิตในวิถีไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

สมหมาย เปรมจิตต์. (2554). การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านในสังคมไทย: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์, 8(1), 45-60.

Heath, C. & Heath, D. (2007). Made to stick: Why some ideas survive and others die. Manhattan: Random House.

McKercher, B. & du Cros, H. (2002). Cultural tourism: The partnership between tourism and cultural heritage management. London, United Kingdom: Routledge.

UNESCO. (2003). Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Retrieved June 27, 2567, from https://ich.unesco.org/en/conventio