ผลของกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพนักเล่าเรื่องชุมชนผ่านสื่อสังคมและแพลตฟอร์มออนไลน์ กรณีศึกษา ชุมชนคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพนักเล่าเรื่องชุมชนผ่านสื่อสังคมและแพลตฟอร์มออนไลน์ กรณีศึกษาชุมชนคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ จำนวน 10 คน ซึ่งเข้าร่วมกระบวนการด้วยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินศักยภาพฯ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) และค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) รวมทั้งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.947 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยการหาค่าความถี่และร้อยละ เปรียบเทียบระดับศักยภาพ ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับตามเกณฑ์มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และเปรียบเทียบศักยภาพฯ ด้วยสถิติ t ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 31 - 50 ปี มีบทบาทเป็นสมาชิกหรือกรรมการของกลุ่ม และมีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น หลังการเข้าร่วมกระบวนการ พบว่าศักยภาพมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ 1) ด้านความรู้: เพิ่มจากระดับน้อย ( = 2.43, S.D. = 0.533) เป็นระดับมาก (
= 3.81, S.D. = 0.179) 2) ด้านทักษะ: เพิ่มจากระดับน้อย (
= 2.42, S.D. = 0.529) เป็นระดับปานกลาง (
= 3.44, S.D. = 0.189) และ 3) ด้านเจตคติ: เพิ่มจากระดับน้อย (
= 2.63, S.D. = 0.338) เป็นระดับปานกลาง (
= 3.65, S.D. = 0.129) และเปรียบเทียบผลศักยภาพฯ ด้วยสถิติ t แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าศักยภาพก่อน-หลังเข้าร่วมกระบวนการฯ แตกต่างกัน โดยที่ค่าเฉลี่ยศักยภาพหลังเรียน (
= 3.63) สูงกว่าค่าเฉลี่ยศักยภาพก่อนเรียน (
= 2.58)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวรรณ เวชชานุเคราะห์. (2556). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จริยา สุพรรณ และคณะ. (2568). เรื่องเล่าและประสบการณ์การพัฒนาศักยภาพชุมชนภายใต้การทำงานโครงการ U2T เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันภายใต้เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารสหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1-2), 222-243.
ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อเป็นนักสื่อความหมายท้องถิ่น. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม, 5(2), 1-11.
นรินทร์ สังข์รักษา และคณะ. (2566). การพัฒนารูปแบบการสร้างนักเล่าเรื่องและสื่อความหมาย เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 5(1), 25-40.
นิสากร ยินดีจันทร์ และคณะ. (2560). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พัชรา วาณิชวศิน. (2563). เทคนิคการเล่าเรื่อง: เรื่องมือสอนที่มีศักยภาพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 281-291.
มุกข์ดา สุขธาราจาร และจริยา สุพรรณ. (2567). การจัดเก็บข้อมูลเรื่องเล่าชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองแขม จังหวัดพิจิตร. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(2), 36-50.
วาสนา โล่สุวรรณ. (2566). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทอง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรายภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 17(3), 158-174.
เศวตฉัตร นาคะชาต. (2565). พัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนตะโหมดเป็นผู้ประกอบธุรกิจแบบมืออาชีพ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา.
สำนักงานจังหวัดพัทลุง. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดพัทลุง 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). จังหวัดพัทลุง. เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2568 จาก https://www.phatthalung.go.th/2022/files/com_news_develop/2023-11_6ec40d12f7dbecb.pdf/
อณิษฐา หาญภักดีนิยม. (2564). รูปแบบการขับเคลื่อนบทบาทสตรีต่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 355-371.
เอกกนก พนาดำรง. (2559). การเขียนเรื่องเล่า ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง (Story telling). เวชบันทึกศิริราช, 9(3), 194-196.
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. (4th ed.). New York: Mc-Graw Hill.