การศึกษาเปรียบเทียบเชิงปรัชญาระหว่างขันธ์ 5 กับปัญญาประดิษฐ์

Main Article Content

พระปริญญา อธิปญฺโญ (ศรีทา)
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักขันธ์ 5 ในพระพุทธศาสนา แนวคิดปัญญาประดิษฐ์และเปรียบเทียบเชิงปรัชญาระหว่างแนวคิดหลักขันธ์ 5 กับปัญญาประดิษฐ์ในอภิปรัชญา ญาณวิทยาและจริยศาสตร์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้วิจัยเกี่ยวกับเอกสารหลักขันธ์ 5 กับปัญญาประดิษฐ์ ผลการวิจัยพบว่า หลักขันธ์ 5 ในพระพุทธศาสนา ตามแนวปรัชญา ชีวิตของมนุษย์หรือสัตว์ เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของขันธ์ 5 ได้แก่ รูปเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ รวมเรียกว่า รูปและนาม ส่วนที่เป็นรูป คือ วัตถุธาตุ เรียกว่า กาย ส่วนนาม คือ การสำนึกรับรู้อารมณ์ เรียกว่า จิตใจ ทั้งกายและจิตใจ ทำงานร่วมกัน เมื่อจิตคิด สั่งการให้เคลื่อนไหวร่างกายก็จะเคลื่อนไหวตามมา ย่อมเกิดจากเจตนา และต้องรับผิดชอบพฤติกรรมของผู้กระทำปัญญาประดิษฐ์ ในทางกายภาพ คือ รูปขันธ์ ทำงานผ่านอัลกอริทึมและการประมวลผลข้อมูลมหาศาล แม้ปัญญาประดิษฐ์ สามารถจำลองการรับรู้ได้ แต่ไม่สามารถมีความรู้สึกสุขหรือทุกข์หรือสำนึกรู้ชั่วดีด้วยตนเองดุจมนุษย์ และผลการเปรียบเทียบเชิงปรัชญาและแนวคิดหลักขันธ์ 5 กับปัญญาประดิษฐ์ ผ่านหลักปรัชญา 3 สาขา คือ 1) ด้านอภิปรัชญา ในด้านการเป็นสิ่งมีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์ ขาดเวทนาขันธ์ (ความรู้สึกสุขหรือทุกข์) สังขารขันธ์ (มีจิตสำนึกปรุงแต่งเป็นกุศล อกุศล) และวิญญาณขันธ์ (การรู้จักคิด) ในด้านความเป็นตัวตน ไม่อาจบอกอัตลักษณ์ อ้างสิทธิและความเป็นปัจเจกบุคคลของปัญญาประดิษฐ์ได้ 2) ด้านญาณวิทยา ปัญญาประดิษฐ์ทำงานผ่านอัลกอริทึมและการประมวลผลข้อมูลมหาศาล ซึ่งความรู้เป็นเพียงแค่การประมวลความทรงจำมาจัดระบบ เป็นแบบประสบการณ์นิยม แต่ไม่มีการคิดวิเคราะห์แบบเหตุผลนิยม และ 3) ด้านจริยศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์ทำงานแบบกลไกนิยม ย่อมขาดเจตนา และขาดความรับผิดชอบโดยตัวเองของปัญญาประดิษฐ์ ด้านจริยธรรมเป็นเรื่องของผู้สร้างปัญญาประดิษฐ์

Article Details

How to Cite
อธิปญฺโญ (ศรีทา) พ. ., โคตรสุโพธิ์ พ. ., & ปั้นเหน่งเพ็ชร์ เ. . (2025). การศึกษาเปรียบเทียบเชิงปรัชญาระหว่างขันธ์ 5 กับปัญญาประดิษฐ์. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(5), 157–168. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7935
บท
บทความวิจัย

References

ชูพันธ์ รัตนโภคา. (2559). ความรู้เบื้องต้นทางปัญญาประดิษฐ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พระครูนิวุตถ์ประชากร ฐิตกุสโล. (2562). วิจารณ์หนังสือของพุทธปรัชญากับญาณวิทยา เขียนโดย ศ.ดร.สมภาร พรมทา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 341-343.

พระครูวินัยธรสุวิจักขณ์ มหาปญฺโญ. (2565). ศึกษาขันธ์ 5 ในมุมมองของพุทธทาสภิกขุ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 273-274.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2564). วิเคราะห์จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ในพุทธปรัชญา. วารสาร วนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรษน์, 4(1), 25-26.

พระมหาสมเจต สมจารี. (2560). แนวคิดเรื่องอภิปรัชญา ญาณวิทยา และคุณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสาร ศึกษาศาตร์ มมร, 5(1), 78-79.

ภากร ยอดพรม และคณะ. (2565). ระบบคอมพิวเตอร์และความรู้พื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(6), 1140-1150.

ภาณุ อัครยรรยง และพระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร. (2564). การศึกษาวิเคราะห์ขันธ์ 5 ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(1), 110-112.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Chris, L. et al. (2024). The AI Scientist: Towards Fully Automated Open-Ended Scientific Discovery. Retrieved September 10, 2024, from https://arxiv.org/abs/2408.06292

Feng, X. et al. (2024). AI-Empowered Human Research Integrating Brain Science and Social Sciences Insights. Retrieved November 25, 2024, from https://arxiv.org/abs/2411.12761

Jundong, X. (2024). Aristotle: Mastering Logical Reasoning with A Logic-Complete Decompose-Search-Resolve Framework. Retrieved December 24, 2024, from https://arxiv.org/abs/2412.16953

Russell, S. & Norvig, P. (2016). Artificial Intelligent: A Modern Approach. (3rd ed.). England: Pearson Education Limited.