การท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา : การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวของวัดในภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลงานพุทธศิลป์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช

Main Article Content

พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล
พระครูจิตตสุนทร
สิทธิโชค ปาณะศรี
ทวีโชค เหรียญไกร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบันของรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาในภาคใต้ พัฒนารูปแบบและกิจกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดในภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลงานพุทธศิลป์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช และเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดในภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลงานพุทธศิลป์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาในภาคใต้ ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและทะเล การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนา การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวิถีชุมชน การท่องเที่ยวเชิงอาหาร การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กีฬาและผจญภัย และการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาและแสวงบุญ การพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดในภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลงานพุทธศิลป์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ได้แก่ ทิศทางการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยว ความสำคัญของการจัดกิจกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดในภาคใต้ ความสำคัญของงานพุทธศิลป์ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาในภาคใต้ และงานพุทธศิลป์ของวัดที่ได้รับอิทธิพลจากพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชที่ส่งผลต่อสังคม การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดในภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลงานพุทธศิลป์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ได้แก่ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครือข่ายของการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดในภาคใต้ ความจำเป็นของการเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดในภาคใต้ และการเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดในภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลงานพุทธศิลป์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชที่มีผลต่อการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล, พระครูจิตตสุนทร, ปาณะศรี ส. ., & เหรียญไกร ท. . (2025). การท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา : การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวของวัดในภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลงานพุทธศิลป์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(5), 341–351. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7951
บท
บทความวิจัย

References

ฉลอง พันธ์จันทร์. (2561). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนา เส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 5 (ฉบับพิเศษ), 118-119.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระปลัดบุญเลิศ กตปุญฺโญ (สุทธิมาลย์). (2560). การจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ: กรณีศึกษาวัดใหญ่บางปลากด. ใน วิทยานิพนธ์พระพุทธศาสมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีสังคม ชยานุวฑฺโฒ (ธนาวงษ์). (2561). การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา : รูปแบบและเครือข่ายการจัด การท่องเที่ยวของวัดในสังคมไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). สังคมวิทยาการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สมบูรณ์ ดำดี. (2549). การศึกษาปรัชญาในงานพุทธศิลป์เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบ ตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์พุทธศิลป์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2568). ระบบทะเบียนวัด. เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2568 จาก http://www.onab.go.th

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. (2530). กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย : ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ. วารสารเมืองโบราณ, 13(3), 60-70.