ผลกระทบจากการดูดทราย : กรณีศึกษา หมู่ที่ 1 ตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

แพรวโพยม ยลธรรธรรม
พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์
เชษฐา มุหะหมัด
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการดูดทราย และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการดูดทราย กรณีศึกษา หมู่ที่ 1 ตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลกระทบจากการดูดทราย กรณีศึกษา หมู่ที่ 1 ตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีผลกระทบดังนี้ 1) ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น น้ำเปลี่ยนทิศทาง ตลิ่งพัง เสียงดัง ควัน ฝุ่นละออง เป็นต้น 2) ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางชีวภาพและนิเวศวิทยา เช่น น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่า ส่งกลิ่นเหม็น ปนเปื้อนสารพิษ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์พืช และสัตว์น้ำ และเกิดมลพิษต่อร่างกาย 3) ผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของชุมชน เช่น ระบบการทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน 4) ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ มลภาวะทางอากาศ และเสียงดัง เป็นต้น 2. แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการดูดทราย กรณีศึกษา หมู่ที่ 1 ตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบดังนี้ 1) แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การทำแนวกั้นน้ำโดยใช้หินกั้นเป็นตลิ่ง ซ่อมแซมถนน เป็นต้น 2) แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางชีวภาพและนิเวศวิทยา เช่น กำหนดโซนพื้นที่สาธารณะ ห้ามมีผู้บุกรุก 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของชุมชน เช่น สร้างการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นต้น  4) การแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น คนในชุมชนได้รับสิทธิ์ในการตรวจสุขภาพประจำปี และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองพื้นที่กรรมสิทธิ์ของชาวบ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ และสมศักดิ์ บุญคาว. (2547). ผลกระทบจากการดูดทราย.กรุงเทพ มหานคร: สำนักงานนโนบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ธวัชชัย เทพสุวรรณ และวิเชียร อินต๊ะเสน. (2543). ผลกระทบสิ่งแวดล้อมธรรมชาติจากการ ดูดทรายในแม่น้ำ. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายทรัพยากรธรณีในทะเล กองเศรษฐ ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี.

ธีราณี โชติกไกร. (2537). การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ของทรายแต่ละประเภท. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิเคราะห์วิจัยแร่และหิน กองวิเคราะห์ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม.

บริษัท เจ คอนสตรัคชั่น จำกัด. (2551). ความเห็นผลกระทบสิ่งแวดลอมตอการดูดทราย. พิษณุโลก: บริษัท ซี พี แอล จำกัด.

ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2542). การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

ปิยชาติ ธาตรีนรานนท์. (2558). การออกแบบและสร้างเครื่องร่อนทราย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา. (2530). ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: อรุณการ พิมพ์.

วิชัย วรยศอำไพ. (2542). ทรัพยากรแร่ทรายในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายแร่และ หินอุตสาหกรรม กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี.

วีระพันธ์ อุปถัมภากุล. (2540). มาตรฐานและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทรายในการ ก่อสร้าง ในการจัดการทรัพยากรธรณีทรายของประเทศไทย. ใน เอกสารการสัมมนา กรมทรัพยากรธรณี ณ ห้องประชุมกรมทรัพยากรธรณี.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2550). โครงการวาง แผนการจัดการสิ่งแวดล้อมจากการใช้ทรัพยากรทราย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

เสถียร เหลืองอร่าม. (2527). หลักมนุษยสัมพันธ์ต่อการบริหารงานในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.

แสวง รัตนมงคลมาศ. (2538). องคกรการนําการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

อดุลย์ ใจตาบุตร และอุดม จำรัสไว. (2548). แหล่งทรายภาคเหนือ. กรุงเทพมหานคร: ห้อง ประชุมกรมทรัพยากรธรณี.

อดุลย์ วรรณพีระ. (2548). แหล่งทรายและผลกระทบจากการดูดทราย : กรณีศึกษาในพื้นที่ ลุ่มน้ำปิง. กรุงเทพมหานคร: สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี.

อนันต์ เกตุวงศ์. (2541). หลักและเทคนิคการวางแผน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อำนวย วงษ์พานิช. (2549). การศึกษาผลกระทบทางสังคม อันเนื่องมาจากโครงการก่อสร้าง ท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่มีผลต่อประชาชนตามแนววางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ : กรณีศึกษา ในพื้นที่ อำเภอพานทองและอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำไพ ทองภิญโญชัย. (2540). ธรณีวิทยาจังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต: ฝ่ายพัฒนาเหมืองแร่ สำนักงาน ทรัพยากรธรณีเขต 2.

Dana and Ford. (1969). A textbook of mineralogy with and extended treatise on crystallography and physical mineralogy. ( 4 "ed): John Weley & Sons Inc.,

Dye Thomas R. (1982). Understanding Public Policy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.