การประเมินและการป้องกันความเสี่ยงของปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ภายในลิฟต์ สำหรับอาคารสูง

Main Article Content

สุนันทา นิลสนธิ
วรานนท์ คงสง
บุญธรรม หาญพาณิชย์
กฤษดา พิศลยบุตร
ชัยวัฒน์ ภู่วรกุลชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงจากการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ไปตามความสูงของอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ไปตามความสูงของอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ตามความสูงของอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเสนอแนวทางการลดความเสี่ยงและสร้างความปลอดภัย จากการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ ตามความสูงของอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การวิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณ และการเก็บข้อมูลมาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ในการใช้งานปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ภายในลิฟต์ จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการทำงานการใช้ปั้นจั่นชนิดติดตั้งภายในลิฟต์ จำนวน 40 คนจาก 4 แห่งในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และจัดลำดับความเสี่ยงรูปแบบ 5x5 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบมี 4 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านสภาพโครงสร้าง สภาพของตัวน็อต ไม่มีการตรวจสอบก่อนนำมาใช้งาน เนื่องจากขาดการดูแลรักษาหลังจากทำงาน 1.2) ด้านบุคลากร ฝ่ายปฏิบัติการและผู้บังคับ ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ 1.3) ด้านการจัดการบริหารก่อสร้าง ขั้นตอนการสมัครงานคัดเลือกผู้ปฏิบัติงาน ยังไม่ผ่านขั้นตอนการยอมรับตามที่กำหนด 1.4) ด้านสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบด้านฝุ่นและเสียงระหว่างทำงาน 2) ประเมินความเสี่ยงพบว่าไม่มีการตรวจสอบก่อนการใช้งานเป็นประจำและมีการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและ 3) แนะนำให้มีการตรวจสอบประจำปี และการฝึกอบรมบุคลากร เพื่อให้เห็นถึงผลกระทบที่ชัดเจนในการป้องกันอุบัติเหตุ

Article Details

How to Cite
นิลสนธิ ส. ., คงสง ว. ., หาญพาณิชย์ บ. ., พิศลยบุตร ก. ., & ภู่วรกุลชัย ช. . (2025). การประเมินและการป้องกันความเสี่ยงของปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ภายในลิฟต์ สำหรับอาคารสูง. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(6), 26–39. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8282
บท
บทความวิจัย

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2564). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อนํ้า. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.labour.go.th/index.php/59597-2564-31

กองพล ชุนเกาะ. (2560). การจัดการความรู้ด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้างด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคาร. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). Risk การจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง (Risk Matrix). เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.iok2u.com/article/business-administrator/risk-matrix

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ. (2553). การตรวจสอบปั้นจั่นหอสูง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกรุงเทพฯ.

ณัฐวุฒิ สุขศิริสวัสดิกุล. (2560). การประเมินเบื้องต้นด้านความปลอดภัยของเครื่องเล่นชั่งคราว กรณีศึกษาในเขตอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. ใน สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประสาน รัตนสาลี. (2565). อันตรายจากปั้นจั่นหอคอยสูง. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2565 จาก https://www.psmc2006.com/M/M-02_article-tower%20crane.pdf

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร. (2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนที่ 96 หน้า 21 (18 พฤษจิกายน 2563).

วุฒินันทน์ ปัทมวิสุทธิ์. (2564). อันตรายร้ายแรงและสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง. ในบทความสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน. เรียกใช้เมื่อ 23 พฤษภาคม 2568 จาก https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/922-2021-07-12-13-03-30

เศรษฐวัฒน์ หนูฉิม. (2558). กระประเมินความเสี่ยงในงานรื้อถอนทาวเวอร์เครนชนิดบูมกระดกสำหรับงานก่อสร้างอาคารสูง. ใน สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนันทา นิลสนธิ. (2567). การประเมินและการป้องกันความเสี่ยงของปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ภายในลิฟต์สำหรับอาคารสูง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หฤษฏ์ ศรีนุกูล. (2567). ความปลอดภัยในการใช้ TOWER CRANE. กรุงเทพมหานคร: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.).