ความต้องการในการศึกษาต่อ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี

Main Article Content

ปวเรศร์ พันธยุทธ์
พัชรี ทองคำพานิช
ฉัตร์ชัย แสงสุขีลักษณ์
ฉัตรตระกูล ปานอุทัย
อธิวัฒน์ ดอกไม้ขาว
อัมพร กรุดวงษ์
อรทัย แย้มโอษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .94 และนำไปหาค่าความเชื่อมั่น มีค่าเท่ากับ .92 กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 300 คน จากการสุ่มด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องการศึกษาต่อ ส่วนใหญ่ เป็นเพศชายช่วงอายุ 26 - 30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ประกอบอาชีพ เป็นพนักงานเอกชน เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจศึกษาต่อ เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ เหตุผลเลือกศึกษาต่อที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี เนื่องจากมีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของสังคม ช่วงเวลาที่ต้องการศึกษาต่อ เป็นภาคพิเศษ (เสาร์ - อาทิตย์) รูปแบบที่ต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอน เป็นแบบเต็มเวลาในชั้นเรียน และออนไลน์ แผนการศึกษาที่ต้องการในการศึกษา เป็นแผน 1 แบบวิชาการ และแผนการศึกษาดูงานที่ต้องการในระหว่างการศึกษา ต้องการศึกษาดูงานในประเทศ และ 2) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อศึกษาต่อในหลักสูตร พบว่า ด้านความรู้ (4.54±.43) ด้านทักษะ (4.53±.48) และด้านลักษณะบุคคล (4.51±.48) มีความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านจริยธรรม (4.38±.51) มีความคาดหวังอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
พันธยุทธ์ ป. ., ทองคำพานิช พ. ., แสงสุขีลักษณ์ ฉ. ., ปานอุทัย ฉ. ., ดอกไม้ขาว อ., กรุดวงษ์ อ. ., & แย้มโอษฐ์ อ. . (2025). ความต้องการในการศึกษาต่อ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(6), 182–195. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8309
บท
บทความวิจัย

References

กฤชพร ว่องไว. (2564). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการตลาดตามแนวทาง Outcome Based Education (OBE) ในสหรัฐอเมริกา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 21(1), 161-178.

จิราพร และวินัย รัตนคำ. (2553). การศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 2(2), 91-99.

ชนาภา ภูวิภิรมย์. (2558). การพัฒนาสมรรถนะนักวิทยาศาสตร์การกีฬาของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถวิกา เมฆอัคฆกรณ์. (2563). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาอาชีวศึกษา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 461-478.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง หน้า 35-36 (20 กรกฎาคม 2565).

พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก หน้า 128-130 (22 พฤษภาคม 2562).

พระวิระพันธ์ ติกฺขปญฺโญ (เสียงเย็น). (2562). สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาคนในยุค Thailand 4.0 เป็นขุมปัญญาของประเทศ. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(3), 95-111.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และพนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ศิวะลักษณ์ มหาชัย และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี, 5(2), 168-185.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อมรรัตน์ เตชะนอก เเละคณะ. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 1-15.

Best, J. W. (1981). Research in Education. (4th ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Graham, C. R. et al. (2003). Blended Learning Environments: A Review of the Research Literature. Provo, UT: n.p.