การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

Main Article Content

พระอธิการกีรติ อรุโณ (กีรติ รินรส)
ดิเรก นุ่นกล่ำ
พระครูนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนฯ และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จำนวน 357 คน เลือกโดยการใช้สูตรคำนวณ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิด และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายปิดและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนฯ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านส่งเสริมการจัดการโดยชุมชน ควรมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน มีแนวทางและนโยบายที่ชัดเจน โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 2) ด้านส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน ควรจัดกิจกรรมเรียนรู้ความงดงามของวัฒนธรรมชุมชน รวมทั้งการฟื้นฟูประเพณีที่สร้างอัตลักษณ์ของชุมชน เปิดโอกาสการเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยวหรือคนในชุมชนได้ศึกษา เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนทางวัฒนธรรมของชุมชน 3) ด้านการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ ควรจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการโดยผ่านกิจกรรมที่โดดเด่นสอดคล้องกับวิถีชุมชนด้วยการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 4) ด้านการส่งเสริมสินค้าและบริการท้องถิ่น ควรมีการประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณภาพ เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกลับมาเยือนครั้งต่อไป

Article Details

How to Cite
อรุโณ (กีรติ รินรส) พ. ., นุ่นกล่ำ ด. ., & (สุริยา คงคาไหว) พ. . (2025). การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(6), 247–258. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8320
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปี 2550และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปี 2550. กรุงเทพมหานคร: บริษัทมิสเตอร์กอปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด.

ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 265-278.

ทนงศักดิ์ กุมะณา และคณะ. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 13(2), 172-186.

นฤมล บัวจันทร์. (2565). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประนอม การชะนันท์. (2562). ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 898-915.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). (2565). เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 1 (1 พฤษจิกายน 2565).

พัชราภรณ์ จันทรฆาฎ. (2565). การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นของตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2), 19-28.

พิชญาพร โพธิ์สง่า. (2566). ดัน ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ให้คนทั้งโลกหลงรักประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 17 มีนาคม 2567 จาก https://theactive.thaipbs.or.th/read/soft-power-tourism

เมษ์ธาวิน พลโยธ และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(1), 1-25.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). การบริหาร หลักการ ทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสุทธิ์.

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร. (2562). รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาศตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครศรีธรรมราช: วีพีเอส: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช.

สุนิษา กลิ่นขจร. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด. เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2567 จาก https://tatreviewmagazine.com/article/community-based-tourism