แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

Main Article Content

ประจวบ เป็งโย
สุภาภรณ์ กิตติรัชฎานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้วิธีการสำรวจ (Descriptive Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 และหาแนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2กลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหารและข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 157 คน และผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด (Population Study) เนื่องจากจำนวนไม่มากและสามารถเข้าถึงได้ทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านผลลัพธ์และภาพแห่งความสำเร็จมีระดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานบุคคล ตามลำดับปัญหาที่พบ ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตที่จะนำไปใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ยังไม่ชัดเจน มีความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ การพัฒนาบุคลากรที่ไม่ทั่วถึง และการประเมินความพึงพอใจที่ยังไม่ครอบคลุม แนวทางการพัฒนา ได้แก่ ควรมีการเสริมสร้างศักยภาพครูในการบูรณาการโรงเรียนสุจริตสู่แผนการจัดการเรียนรู้ จัดการอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านระเบียบการคลัง การวางแผนงบประมาณ การประเมินบุคลากรที่เน้นคุณธรรม และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคุณธรรม พร้อมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ของโรงเรียนโดยผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
เป็งโย ป. ., & กิตติรัชฎานนท์ ส. . (2025). แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนโมกขละ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(6), 308–320. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8326
บท
บทความวิจัย

References

ฐิติมา เทาศิริ. (2562). มาตรฐานการบริหารงานโครงการโรงเรียนสุจริตในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ณรพร เรืองรอง. (2565). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารในการส่งเสริมการบริหารงานโครงการโรงเรียนสุจริต ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 1 (19 สิงหาคม 2542).

พลวัฒน์ แจ้งดี. (2563). การประเมินผลโครงการโรงเรียนสุจริต โรงเรียนวัชรวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พิมพ์ชนก หชัยกุล. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตนา กาญจนพันธ์. (2567). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 19(1), 45-60.

วสันต์ บุญประสม. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนสุจริต โรงเรียนบ้านตุงลอย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศริญาภัสร์ ชัชโชติสวัสดิ์ และคณะ. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(5), 157-170.

สุภาวดี ใจภักดี. (2563). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Cheng, Y. C. (2000). “A CIPP Model for School Accountability.” In T. H. Townsend & Y. C. Cheng (Eds.). In Educational Change and Development in the Asia-Pacific Region: Challenges for the Future (pp. 93-102). Netherlands: Swets & Zeitlinger.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis. Cambridge, MA: MIT Center for Advanced Educational Services.