ค่านิยมและโครงสร้างการปกครอง: ปัจจัยหนุนหรือต้านการทุจริต
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมายาวนาน และส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและงบประมาณที่นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศถูกเบียดบังไป หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือการขาดคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการทั้งฝ่ายประจำและฝ่ายการเมือง ที่ไม่ให้ความสำคัญกับประโยชน์สาธารณะเป็นลำดับแรก และประชาชนก็ยังคงพึ่งพาระบบอุปถัมภ์ ความรักพวกพ้อง ส่งเสริมค่านิยมแบบเอื้อประโยชน์ส่วนตนและลำเอียง ซึ่งนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมในสังคม ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการทุจริตเชิงนโยบาย ยิ่งไปกว่านั้น การรัฐประหารในประเทศไทยเกือบทุกครั้งล้วนมีข้ออ้างเกี่ยวกับการทุจริตของรัฐบาลก่อนหน้า มีการออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558) ดังนั้น หากต้องการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม จึงต้องศึกษาว่าโครงสร้างของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือการรัฐประหารว่ามีผลต่อการทุจริตหรือไม่ อีกทั้งศึกษาค่านิยมที่มีบทบาทในการส่งเสริมพฤติกรรมทุจริต เพื่อนำไปใช้ในการรณรงค์สร้างค่านิยมที่ดีและต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน จากผลการวิจัยพบว่า ดัชนีการรับรู้การทุจริตของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและที่มาจากการรัฐประหารไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ค่านิยมที่ฝังอยู่ในระบบอุปถัมภ์ของไทยมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเกิดทุจริต ดังนั้น การแก้ปัญหาในระยะยาวจึงต้องมุ่งเปลี่ยนค่านิยมของสังคมไทยไม่ส่งเสริมระบบอุปถัมภ์ ส่งเสริมให้ยึดมั่นในความดี ความถูกต้อง และจริยธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างพลเมืองที่มีคุณธรรมและสามารถป้องกันการทุจริตได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา.
บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2557). การสร้างจิตสำนึกของความเป็นไทย ค่านิยม เพื่อการต่อต้านป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(11), 248-264.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2543). ศึกษาคอร์รัปชั่นในภาครัฐ: ความเห็นและประสบการณ์ของครัวเรือน. ใน รายงานการวิจัย. โครงการวิจัยเศรษฐกิจและการเงินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ก). ค่านิยม. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://dictionary.orst.go.th/lookup_domain.php
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554ข). ฉ้อราษฎร์บังหลวง. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://dictionary.orst.go.th/lookup_domain.php
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2544). ดัชนีคอร์รัปชั่นของไทย: การสร้างและการตรวจสอบความเชื่อถือได้. ใน รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
พุทธชาด สุธีวสินนนท์. (2551). ช่องทางและโอกาสในการทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2555). สถานการณ์การคอร์รัปชั่นของประเทศไทย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(1), 1-9.
สุทธิรัตน์ อ่อนเที่ยง. (2544). คอร์รัปชั่นในระบบราชการไทย: ศึกษากรณีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์. (2558). ดัชนีคอร์รัปชั่นไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.acnews.net/detailnews.php?news_id=N255809098
อุทัย เลาหวิเชียร. (2556). ค่านิยมของการบริหารงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
Nye, J. S. (1967). Corruption and Political Development: A Cost-Benefit Analysis. American Political Science Review, 61(2), 417-427.
Our World in data. (2025). Democracy Index. Retrieved April 22, 2025, from https://ourworldindata.org/grapher/democracy-index-polity
Rokeach, M. (1968). Beliefs, attitudes and values: A theory of organization and change. San Francisco: Jossey-Bass.
Rokeach, M. (1973). The nature of human values. New York: Free Press.
The World Bank. (1997). Helping countries combat corruption: The role of the World Bank. Retrieved April 22, 2025, from https://documents.worldbank.org/en/publication/documents-reports/documentdetail/799831538245192753
Transparency International. (2024). Corruption perceptions index 2024. Transparency International, International Secretariat. Retrieved April 22, 2025, from https://www.transparency.org/en/cpi/2024/index/tha
UNODC. (2005). Corruption compendium of international legal instruments on corruption. United Nations Office on Drugs and Crime. Retrieved April 22, 2025, from https://www.unodc.org