เกษตรกรยุคใหม่ สู่แนวทางเกษตรแม่นยำเพื่อความยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
เกษตรกรยุคใหม่และเกษตรแม่นยำเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยสู่ความยั่งยืน เกษตรกรยุคใหม่ หมายถึง เกษตรกรที่ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและมีความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และสร้างความยั่งยืนในการเกษตรกรรม โดยมีลักษณะ เช่น การเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ มีแนวคิดเชิงธุรกิจ และมีความสนใจในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรกลุ่มนี้ต้องมีทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะการตลาด ทักษะการบริหารจัดการ ทักษะการเรียนรู้ และทักษะการทำงานร่วมกัน โดยใช้เกษตรแม่นยำเป็นระบบในการจัดการการเกษตรที่อาศัยข้อมูลและเทคโนโลยีในการตัดสินใจ โดยมีหลักการพื้นฐาน คือ การให้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมในปริมาณที่ถูกต้อง ณ เวลาที่เหมาะสม และในตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง ระบบนี้ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตัดสินใจ และการปฏิบัติการ การบูรณาการเทคโนโลยีหลัก เช่น ระบบเซนเซอร์ โดรน ดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และปัญญาประดิษฐ์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการอนุรักษ์ทรัพยากร การประยุกต์ใช้เกษตรแม่นยำในพืชเศรษฐกิจของไทย เช่น ข้าว อ้อย และพืชผลไม้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน เกษตรแม่นยำมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนทางการเกษตรในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจผ่านการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการลดการใช้สารเคมีและการอนุรักษ์ทรัพยากร และด้านสังคมผ่านการเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรแม่นยำต้องการการเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ เทคโนโลยี ทุน และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างภาคเกษตรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และความยั่งยืนสำหรับอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2568). เกษตรกรยุคใหม่ กับทักษะที่จำเป็นในเกษตรวิถีใหม่. เรียกใช้เมื่อ 31 พฤษภาคม 2568 จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/363280
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). การพัฒนาเกษตรรุ่นใหม่ให้เป็น YOUNG SMART FARMER. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มโรงพิมพ์ สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี.
กรมส่งเสริมการส่งออก. (2566). สถิติการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ปี 2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพาณิชย์.
กุสุมาภรณ์ สมพงษ์ และคณะ. (2563). Precision Farming เทคโนโลยีผสมผสานการเกษตรยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2563.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง (1 พฤศจิกายน 2565).
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 1 (13 ตุลาคม 2561).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2565). การศึกษาสถานการณ์แรงงานภาคเกษตรไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายงานการสำรวจแรงงานประเทศไทย ไตรมาส 4 ปี 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุภัทร คำมุงคุณ. (2565). เกษตรแม่นยำ (บทความร้อยเรื่องเมืองไทย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา.
Canola Council of CANADA. (2567). แนวทางการจัดการสารอาหารตามหลัก 4R. เรียกใช้เมื่อ 31 พฤษภาคม 2568 จาก https://www.canolacouncil.org/canola-encyclopedia/4r-nutrient-stewardship-practices/
SDG MOVE Team. (2559). ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs). เรียกใช้เมื่อ 31 พฤษภาคม 2568 จาก https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/