About the Journal

       วารสารราชภัฏพระนครวิชาการเป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม จัดทาขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานในลักษณะบทความวิชาการ บทความบริการวิชาการ บทความสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมทางวิชาการ และบทความวิจัยแก่นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ขอบเขตของผลงานที่ตีพิมพ์
      วารสารราชภัฏพระนครวิชาการตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความบริการวิชาการ บทความสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมทางวิชาการ และบทความวิจัยโดยขอบเขตของเนื้อหาจะครอบคลุมด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสหวิทยาการรวมทั้งผลงานวิชาการที่ใช้ความรู้ในพหุสาขาในการวิเคราะห์

การพิจารณาบทความ
       บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้แต่งและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Review)

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์
   1. บทความวิชาการ
       บทความควรเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ไขปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ อินเทอร์เน็ตประกอบการ
วิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางแก้ไข
   2. บทความบริการวิชาการ
       เป็นการนาเสนอผลงานบริการวิชาการอย่างเป็นระบบกล่าวถึงความเป็นมา และความสาคัญของปัญหาวัตถุประสงค์ การดาเนินงาน ผลของการดาเนินงานโดยอธิบายให้เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดจากจากการบริการวิชาการ
   3. บทความสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมทางวิชาการ
       เป็นการนาเสนอผลงานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมทางวิชาการอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมา และความสาคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การดาเนินงานสร้างสรรค์ผลงานหรือนวัตกรรมทางวิชาการ และผลการสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมทางวิชาการ
   4. บทความวิจัย
       เป็นการนาเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมา และความสาคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การดาเนินการวิจัยและผลการวิจัย

หลักเกณฑ์ในการส่งบทความ
   1. บทความที่ผู้แต่งส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการเสนอขอตีพิมพ์จากวารสารอื่นๆ
   2. เนื้อหาในบทความต้องไม่คัดลอก ลอกเลียน หรือไม่ตัดทอนจากบทความอื่นโดยเด็ดขาด (การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น)
   3. ผู้แต่งต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่กาหนดไว้ในระเบียบการส่งบทความของวารสารราชภัฏพระนครวิชาการ
   4. การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารราชภัฏพระนครวิชาการจะพิจารณาเฉพาะบทความที่ได้รับการประเมินให้ตีพิมพ์เผยแพร่จากผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น
   5. กรณีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แต่งต้องปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และ ชี้แจงการแก้ไขต้นฉบับดังกล่าว มายังกองบรรณาธิการ

คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ
       รับตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2003 ขึ้นไป โดยใช้ตัวหนังสือแบบ TH Sarabun ขนาด 16 pt. ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กาหนดตั้งค่าหน้ากระดาษ บน 1.5 นิ้ว ซ้าย 1.5 นิ้ว ล่าง 1.0 นิ้ว ขวา 1.0 นิ้ว บทความยาว 15 หน้าต่อบทความ

ส่วนประกอบของบทความ
   บทความทางวิชาการ
     1. บทนำ
     2. กรอบในการวิเคราะห์
     3. เนื้อหา
     4. สรุป
     5.เอกสารอ้างอิง
  บทความบริการวิชาการ
     1. บทนำ
     2. วัตถุประสงค์
     3. แนวคิดของการบริการวิชาการ
     4. วิธีการดำเนินงาน
     5. สรุปผลการบริการวิชาการ
     6. เอกสารอ้างอิง
  บทความสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมทางวิชาการ
     1. บทนำ
     2. วัตถุประสงค์
     3. ทบทวนแนวคิด
      4. กรอบแนวคิด
      5. วิธีการสร้างสรรค์ผลงาน
      6. ผลการสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม
      7. สรุปและอภิปราย
      8. เอกสารอ้างอิง
    บทความวิจัย
      1. บทนำ
      2. วัตถุประสงค์การวิจัย
      3. ทบทวนแนวคิด
      4. สมมติฐาน
      5. กรอบแนวคิดของการวิจัย
      6. ระเบียบวิธีวิจัย
      7. ผลการวิจัย
      8. สรุปผลการวิจัยและอภิปราย
      9. เอกสารอ้างอิง

ชื่อเรื่อง  ควรมีความกระชับและชัดเจน ไม่ยาวจนเกินไป บทความภาษาไทยต้องมีชื่อเรื่องทั้งภาษาไทย
และภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
ชื่อผู้เขียน 
ผู้เขียนหลักต้องใส่ E-mail address ที่ติดต่อได้และลงเครื่องหมายดอกจัน กำกับ
ตำแหน่ง 
สำหรับผู้เขียนหลักต้องใส่ E-mail address ที่ติดต่อได้และลงเครื่องหมายดอกจันกำกับ
บทคัดย่อ 
ทุกบทความต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยควรมีความยาวระหว่าง 200 ถึง 250 คำ
คำสำคัญ 
ให้มีคำสำคัญ 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
รูปภาพ 
แยกบันทึกเป็นไฟล์ภาพที่มีนามสกุล TIFF, หรือ JPEG ถ้าเป็นภาพถ่ายกรุณาส่งภาพต้นฉบับเพื่อคุณภาพในการพิมพ์ หมายเลขรูปภาพและกราฟ ให้เป็นเลขอารบิก คำบรรยายและรายละเอียดต่างๆ อยู่ด้านล่างของรูปภาพ
ปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับการตีพิมพ์แบบขาว-ดำ หรือ Greyscale
เนื้อหา 
ใช้ตัวหนังสือแบบ TH Sarabun ขนาด 16 พอยท์ จัดเนื้อหาตามรูปแบบบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการ หน่วยที่ใช้ให้เป็นไปตามรูปแบบสากล ศัพท์ภาษาอังกฤษในวงเล็บให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะ หากมีสมการให้ใช้ Equation Editor โดยจัดให้อยู่ในตำแหน่งกลางหน้ากระดาษ และระบุหมายเลขสมการ
ตาราง 
หมายเลขตารางให้เป็นเลขอารบิก คำบรรยายและรายละเอียดต่างๆ อยู่ด้านบนของตาราง
เอกสารอ้างอิง 
เป็นรายชื่อเอกสารที่ใช้อ้างถึงในบทความ โดยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ และจัดรูปแบบอ้างอิงตามระบบ APA 6 th edition พร้อมวงเล็บ (In Thai) ท้ายรายการ

รูปแบบการอ้างอิง
1. การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation)
กรณีอ้างอิงชื่อผู้เขียนก่อนข้อความ          ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์)........................
ตัวอย่าง                                                Kelly (2004) แสดงให้เห็นว่า........................
                                                            Saikaew & Kaewsarn (2009) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ...........
                                                            Lui et al. (2000) พบว่า........................
                                                            Saikaew & Kaewsarn (2009) และ Lui et al. (2000) พบว่า
กรณีอ้างอิงชื่อผู้เขียนท้ายข้อความ          ...................... (ชื่อผู้เขียน, ปีที่พิมพ์)
ตัวอย่าง                                                ...................... (Kelly, 2004)
                                                            ...................... (Saikaew & Kaewsarn, 2009)
                                                            ...................... (Lui et al., 2000)
                                                            ...................... (Saikaew & Kaewsarn, 2009; Lui et al., 2000)

2. การอ้างอิงในส่วนท้ายบทความ (References)

2.1 อ้างอิงจากหนังสือ (Books)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์.

ตัวอย่าง      Crawley, R. B., Dockery, L. M., Branson, T. S., Carmichael, L. E., Carson, J. C., Findlay, A. F., & Smith, D. M. (2015). Manor houses of the early 1900s. London, England: Taylor & Francis.

2.2 อ้างอิงจากบทความวารสาร (Journal articles)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

ตัวอย่าง      Yingsanga, P., & Mathurasa, L. (2009). Yellowing development of Chinese Kale (Brassica oleracea var. alboglabla).  Phranakhon Rajabhat Research Journal: Science and Technology14(1), 76-90. (In Thai)

                Morrisa, G.A., Fosterb, T.J., & Hardinga, S.E. (2000). The effect of the degree of esterification on the hydrodynamic properties of citrus pectin. Food Hydrocolloids, 14(3), 227–235.

2.3 อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Theses and Dissertations)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. (ระดับวิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัย, เมืองที่ตั้งมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง      Caprette, C.L. (2005). Conquering the cold shudder: The origin and evolution of snake eyes. (Doctoral dissertation). Ohio State University, Columbus, OH.

2.4  อ้างอิงจากรายงานการวิจัย/รายงานทางวิชาการ  (Technical/Research reports)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ประเภทของเอกสาร). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง      Tayama, T. (2006). Velocity influence on detection and prediction of changes in color and motion direction (Report No. 38). Sapporo, Japan: Psychology Department, Hokkaido University.

2.5  บทความ/บทในหนังสือการประชุม (Proceedings of meeting and symposium)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่งในบท. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ใน ชื่อบรรณาธิการ, (บรรณาธิการ), ชื่อการประชุม (หน้าแรก-หน้าสุดท้าย). สถานที่พิมพ์: สานักพิมพ์.

ตัวอย่าง      Deci, E.L., & Ryan, R.M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on motivation: Vol. 38 Perspectives on motivation (237-288). Lincoln, NM: University of Nebraska Press.

2.6  อ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. Retrieved from http://.............[ใส่วันที่สืบค้น].

ตัวอย่าง      Centers for Disease Control and Prevention. (2003). Take charge of your diabetes. Retrieved from http://www.cdc.gov/diabetes /pubs/paf/ted.pdf [2015, 25 Oct.]

2.7  อ้างอิงอื่นๆ

รูปแบบ       ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. (ปีที่ให้สัมภาษณ์, วัน เดือน). สัมภาษณ์. ตำแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์. หน่วยงาน.

ตัวอย่าง      Phae-ngam, W. (2016, 10 Jan.). How to write a good research article. Assistant Professor. Faculty of Science and Technology. Phranakhon Rajabhat University.

หมายเหตุ: ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะเรียบเรียงและอาจปรับปรุงการนาเสนอบทความตามความเหมาะสม